งานจบ อารมณ์ไม่จบ: ความเครียดสะสม ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

“ก็มีเครียดบ้างแหละ ปกติของการทำงาน”

“มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่จะปวดหัวเรื่องงานแหละมั้ง”

“ทน ๆ ไปเถอะ เครียดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย”

.

การละเลยสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ อาจนำพาเราไปสู่ “Minor stress” หรือความเครียดสะสมที่เกิดจากความรู้สึกในเชิงลบที่สะสมทีละเล็กละน้อยโดยไม่รู้ตัว โดยเจ้า Minor stress มักปรากฎตัวได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด กดดัน ผิดหวัง เศร้าหมอง และอื่น ๆ

.

และ Minor Stress นี่เองที่สามารถนำไปสู่ภาวะเครียดจนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ซึ่งสาเหตุของความเครียดนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ระดับฮอร์โมน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาจุกจิกในชีวิตประจำวัน งาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงานด้วยเช่นกัน

.

แล้วเราจะสามารถจัดการกับ Minor stress จากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร?

.

👩🏻‍⚕️💙

คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในแอพอูก้า แนะนำกับเราว่า เมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเครียดที่เรามี หากเลี่ยงปัจจัยการกระตุ้นความเครียดได้ก็ควรเลี่ยง เช่น ลองให้คนอื่นคุยงานนี้แทนเราแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปเผชิญหน้ากับเขา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยเราก็จะทำให้เราพอรู้ว่าต้องเจออะไร พยายามจัดการความรู้สึกของตัวเองหรือระบายให้เพื่อนฟัง บางทีเพื่อนอาจเคยเจอเหมือนกับเราก็ได้

.

อีกหนึ่งทางออกที่ดีคือ การลองปรึกษากับบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้เห็นปัญหาในภาพที่กว้างมากขึ้น เพราะหลายครั้ง การมีแค่ HR หรือหัวหน้างาน ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งที่จริง HR และเหล่าหัวหน้างาน ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเมื่อเผชิญภาวะเครียดเหมือนกัน เพราะความรู้สึกและความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น “งานเยอะ” จึงอาจจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาทั้งหมด เมื่อปัญหาภายในองค์กรเรื้อรังรังเข้า จึงเกิดภาวะ “งานจบแล้ว แต่อารมณ์ยังไม่จบสักที”

.

ซึ่งยุคนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่มีหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น โดยหลายองค์กรเริ่มมีสวัสดิการให้พนักงานได้เข้ามาปรึกษาหรือพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

.

นอกจากนี้ คุณ มณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาคลินิกที่ให้บริการในอูก้ากล่าวว่า การมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพจิตในองค์กรถือเป็น “เรื่องที่ดี” และ ”สำคัญมาก” เพราะนอกจากจะมีคนที่คอยรับฟังและเข้าใจปัญหาของเราแล้ว สุขภาพใจจะดีขึ้น สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย สิ่งนี้จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้คนทำงานอย่างเราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

.

แน่นอนว่าอูก้าเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ ที่คอยช่วยสนับสนุนเพื่อน ๆ ให้เอาชนะความเครียดจนสำเร็จ ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเข้ามาระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้เราฟังหรืออยากปรึกษากันแบบจริงจัง จะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เราก็พร้อมรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อน ๆ เสมอนะ

.

มารับพลังใจในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย: https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official: https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321450?fbclid=IwAR0MzoZxiUcaf4WO1Tp4V7juKoaJAQ0saencyE2KOyH2eyalUfObG-2dZFc

#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth#stigma#selflove#expectation#ความคาดหวัง#OOCAfeelings#OOCAreminder

Read More
วิธี ปลอบ ใจ คนเป็นโรค ซึม เศร้า

10 สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยฮีลใจคนอื่นได้

10 สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยฮีลใจคนอื่นได้

คนส่วนใหญ่อาจรู้สึกว่าการเยียวยา (heal) จิตใจหรือการทำให้คนอื่นรู้สึกดีขึ้นเป็นเรื่องยาก บางทีก็ไม่รู้จะพูดอะไร รู้สึกว่าตัวเองปลอบใจคนอื่นไม่เก่ง อูก้าขอแนะนำ ’10 สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยฮีลใจคนอื่นได้’ เพื่อให้เพื่อนๆนำไปใช้ รับรองว่าสกิลการฮีลคนอื่นของเราจะอัพโดยไม่รู้ตัว

1. ฟังให้ถึงใจ

การรับฟังไม่ใช่แค่ได้ยินผ่านหูแล้วตัดสินจากสิ่งที่เรารู้สึก แต่เป็นการมองเข้าไปในใจว่าอีกฝ่ายกำลังรู้สึกอะไรอยู่ แล้วทำความเข้าใจมุมมองของเขา เหมือนประโยคที่บอกว่า “put yourself in others’ shoes” แค่คนหนึ่งคนที่รับฟังอย่างไม่มีเงื่อนไขก็สามารถฮีลใจได้แล้ว

2. ส่งต่อ positive energy

Nicole Burgess นักจิตวิทยาและไลฟ์โค้ช กล่าวว่า “ความสุขเป็น ‘โรคติดต่อ’ ดังนั้นแสงสว่างภายใน ตัวคุณจะเปล่งประกายสู่ภายนอก คนอื่นจะรู้สึกและสัมผัสได้” ใครๆ ก็ชอบอยู่ใกล้คนที่มองโลกในแง่ดี คิดและพูดแต่สิ่งดีๆ รอยยิ้มที่ส่งให้กันช่วยเติมเต็มวันดีๆ ได้

3. แชร์เพลง ภาพยนตร์ หนังสือ

สิ่งเหล่านี้มักจะมี message บางอย่างที่อยากจะถ่ายทอดและช่วยปลดปล่อยอารมณ์เราให้ไหลไปกับเรื่องราว การฮัมเพลงโปรด การดูหนังแล้วหัวเราะให้สุดเสียงหรือร้องไห้ดังๆ รวมถึงการอยู่เงียบๆ แล้วดำดิ่งไปกับหนังสือดีๆ สักเล่ม อาจเป็นสิ่งที่พาตัวคุณออกจากโลกแห่งชีวิตจริงสักครู่หนึ่ง ทำให้คุณรู้สึกเบาลงกับสถานการณ์ปัจจุบัน

4. Colour Healing

รู้ไหมว่าสีมีผลต่ออารมณ์และสุขภาพของเราและที่สำคัญสีช่วยฮีลใจเราได้ โดยเฉพาะสีฟ้าและสีเขียวจะช่วยให้เรารู้สึกสงบและเย็นลง จะเห็นว่าสีของธรรมชาติคือความสบายตาสบายใจ พากันออกทริปไปเจอประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ใจได้รีเฟรชบ้าง รับวิตามินดีจากแสงแดดที่จะช่วยเติมเต็มพลัง ซึ่งสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาอาจฮีลใจได้ดีกว่าคำพูดของเราเสียอีก

5. ตะลุยร้านอร่อย

สำหรับคนที่กำลังเศร้า ความอยากอาหารอาจจะลดลง การทานอาหารถูกปากช่วยเพิ่มสารแห่งความสุขได้ ลองชวนเขาไปร้านใหม่ๆ บรรยากาศดีๆ ปัจจุบันมีคาเฟ่น่ารักๆ มากมาย แถมรีวิวร้านอาหารให้ตามอีกเพียบ การฮีลใจด้วยอาหารไม่เพียงอิ่มท้องแต่เราจะอิ่มใจด้วย แต่ถ้าใช้วิธีนี้บ่อยๆ ระวังน้ำหนักขึ้นด้วยนะ

6. สร้างเซอร์ไพรส์เล็กๆ

ความตื่นเต้นช่วยให้ใจที่เหี่ยวเฉาจะพองโตขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะหรือจัด event ใหญ่โต แต่ทำสิ่งที่อีกฝ่ายไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น นัดปาร์ตี้เพื่อนสมัยเรียน ให้เสื้อผ้าชุดใหม่ หรือพาเที่ยว one-day trip เป็นต้น การสร้างบรรยากาศช่วยดึงความสนใจและพาตัวเองออกจาก routine เดิมๆ

7. ชื่นชมข้อดี

ผู้ใหญ่มักจะชมเวลาที่เด็กๆทำตัวน่ารัก แต่ทำไมเราถึงอายที่จะชมคนอื่นเมื่อโตขึ้น ใครบอกว่าผู้ใหญ่ไม่ต้องการคำชมหรือกำลังใจดีๆ ถ้าเรามองเห็นข้อดีที่ตัวเขาเองมองไม่เห็นก็ช่วยย้ำเตือนสักหน่อย เพราะคำชมเป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้ใจเราในยามที่เหนื่อยล้าให้ต่อสู้กับวันต่อไป

8. Skinship สักหน่อย

การสัมผัสเป็นสิ่งที่ทำให้อบอุ่นใจและช่วยโอบกอดความรู้สึก การตบบ่า จับมือ หรือกอด ไม่ใช่เพียงการสัมผัสทางร่างกายแต่ยังรู้สึกได้ถึงความรักความใส่ใจ ซึ่งเรามักรู้สึกเป็นที่รักเมื่อถูกสัมผัสด้วยความอ่อนโยน การแสดงความรักอาจจะเขินๆ ในตอนแรกแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแน่นอน

9. นั่งอยู่ข้างๆ เสมอ

อาจจะฟังดูแปลกที่การนั่งเฉยๆ จะช่วยทำให้คนอื่นรู้สึกดียังไง แถมยังเป็นวิธีที่ได้ผลมากๆ อีกด้วย ในเวลาที่เรามีแต่ความคิดแย่ๆ เต็มหัวไปหมด เราไม่ได้ต้องการคำสั่งสอนหรือเสียงบ่นจากคนอื่น เพียงแต่อยากให้มีใครสักคนที่นั่งอยู่ข้างๆ คอยนั่งมองเราทำตัวงี่เง่าไร้เหตุผลโดยไม่ตัดสิน ถ้าเราเป็นคนนั้นให้เขาได้ก็จะดีมากเลยแหละ

10. take your time

คนส่วนใหญ่ที่รู้สึกอึดอัดข้างในเป็นเพราะเขาไม่มีพื้นที่ในการเยียวยาตัวเอง ไม่มีเวลาได้ทบทวนหรือปลดปล่อยอารมณ์ลบๆ ออกมา ขอเพียงพื้นที่ปลอดภัยให้เขาได้เป็นตัวเอง หายใจเต็มปอด การถอยออกมายืนมองอยู่ห่างๆ และแสดงน้ำใจยามเขาร้องขอ เป็นอีกวิธีที่ฮีลคนอื่นได้อย่างที่คนมักจะบอกว่า “เวลาจะเยียวยาทุกอย่างเอง”

ลองมองไปรอบๆตัวแล้วช่วยฮีลคนรอบข้างด้วยสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้กันนะคะ อูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกปัญหาและยินดีจะรับฟัง สามารถติดตามเข้ามาพูดคุยกับพี่ๆนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เลยนะคะ

อ้างอิงจาก

https://www.bustle.com/p/13-tried-true-ways-to-give-off-more-positive-energy-that-people-can-actually-sense-74267

https://www.mydomaine.com/heartbroken-friend

https://www.charmsoflight.com/colour-healing

Read More
เลิกล้อ เลิกบูลลี่ ทุกคนมีค่า มีความพิเศษ

OOCAknowledge: #เลิกเมกฟันกับโรคต่างๆ เพราะทุกความต่างคือความพิเศษ

#เลิกเอาโรคต่างๆ มา make fun ได้แล้ว

“ดูจากหน้าและท่าทางแล้ว เป็นออทิสติกใช่ไหม?”

“ตอบแบบนี้ ปัญญาอ่อนหรือไง?”

“เธอบ้าเปล่าเนี่ย? ประสาท!”

คำพูดพวกนี้เป็นมุกตลกล้อเลียนที่เราได้ยินกันจนชิน บางครั้งก็ถูกนำมาเป็นคำด่า คำต่อว่า โดยที่เราอาจลืมนึกไปว่ามีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากคำพูดเหล่านี้ ถ้าเลือกได้เชื่อว่าทุกคนอยากเกิดมาเป็นคนปกติ มีร่างกายและสติปัญญาสมบูรณ์พร้อม แล้วถ้าอะไรบางอย่างที่ทำให้เราแตกต่างออกไปถูกนำมาพูดถึงเป็นเรื่องตลกร้าย เราจะรู้สึกอย่างไร?

อูก้าเคยเขียนบทความ “#เลิกเมกฟันกับโรคทางจิตเวช” เพื่อให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้นว่าบางเรื่องอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับเรา แต่เป็นปัญหาหรือความทุกข์สำหรับคนอื่น นอกจากโรคที่เราได้ยินชื่อบ่อยๆ เช่น โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ โรควิตกกังวลหรือโรคย้ำคิดย้ำทำ ยังมีอาการป่วยกายและป่วยใจมากมายที่เรายังไม่รู้จักหรือไม่ได้มีความเข้าใจในสิ่งๆ นั้นมากพอ แต่กลับนำไปพูดในทางขบขัน สร้าง joke ในวงสนทนา ทั้งที่มันไม่ควรจะเกิดขึ้น

การถูก make fun ในสิ่งที่เราเป็นนั้นน่าเจ็บปวด ไม่ใช่ไม่ยอมรับว่าเราเป็นอะไร แต่สิ่งที่เรากำลังเผชิญหรือสิ่งที่เราเกิดมาพร้อมๆ กับมัน ไม่ควรกลายเป็นเรื่องน่ารังเกียจสำหรับใคร ความพิการหรือโรคต่างๆ กลายเป็นคำด่าทอกันตั้งแต่เมื่อไร อะไรที่ไม่ดี ไม่สวยงาม ไม่น่าชอบพอ มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับความผิดปกติ

หลายคนชอบบอกว่าเพื่อนที่รสนิยมต่างจากคนอื่นว่า “เขาเพี้ยน เอ๋อ ปัญญาอ่อน”

บ่อยครั้งก็ชอบบอกว่าคนที่พูดไม่รู้เรื่องเป็น “โรคประสาท เป็นบ้า”

เดาเอาเองว่าคนที่เรียกร้องความสนใจเป็น “โรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์”

หรืออย่างล่าสุดที่มีดาราท่านหนึ่งถูกเปรียบเทียบหน้าตาความน่ารักด้วยคำว่า “ออทิสติก”

แล้วจริงๆ เราทราบกันหรือไม่ว่า ออทิสติก (Autistic) มีสาเหตุมาจากอะไร ลักษณะอาการเป็นอย่างไร? ซึ่งออทิสติกจัดอยู่ในกลุ่ม PDD (Pervasive Developmental Disorders) หรือความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนตั้งแต่วัยเด็ก จะมีพัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารไม่เป็นไปตามปกติ โดยทั่วไปพวกเขาจะชอบอยู่ในโลกของตัวเองมาก ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่ค่อยสบตา เล่นไม่เหมือนเด็กทั่วไป ชอบทำอะไรซ้ำๆ ขาดความยืดหยุ่น แต่จะสนใจบางอย่างถึงขั้นหมกมุ่นในเรื่องนั้นและด้วยความจริงจังนี้เองสามารถทำให้พวกเขากลายเป็นคนที่เชี่ยวชาญในบางสิ่งบางอย่างได้

ยกตัวอย่างคุณหมอพัคชีอน (นำแสดงโดยจูวอน) ในเรื่อง Good Doctor (2013) ที่มีภาวะออทิสติกและความอัจฉริยะแฝงอยู่และได้กลายเป็นคนหมอที่ทุกคนรัก เรื่องนี้โด่งดังจนถูกนำไปสร้างต่ออีกในต่างประเทศเพราะซีรี่ส์ได้นำเสนอภาพที่ช่วยสร้างทัศนคติด้านบวกในสังคมให้กับคนที่เป็นออทิสติก นอกจากนี้ในชีวิตจริงก็ยังมีบุคคลเช่น Kim Peek อัจฉริยะด้านความจำที่ได้ฉายาว่า “คิมคอมพิวเตอร์” เขาใช้เวลาประมาณ 8-10 วินาทีในการอ่านหนังสือ 1 หน้าและจดจำเนื้อหาหนังสือที่อ่านได้อย่างละเอียดถึง 12,000 เล่ม นอกจากนี้เขายังคำนวณปฏิทินในใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ อีกคนหนึ่งคือ Stephen Wiltshire อัจฉริยะด้านการวาดภาพ ฉายา “มนุษย์กล้องถ่ายรูป” เขาวาดภาพจากความทรงจำ เขาสามารถวาดภาพกรุงโรมได้จากการนั่งเฮลิคอปเตอร์ชมวิวแค่ 45 นาที โดยเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นแสงหรือเงา วิหาร โคลอสเซียม ถนน ไปจนถึงตึกรามบ้านช่องหลังเล็กๆ

จากตัวอย่างที่เรายกมาจะเห็นได้ว่าพวกเขามีความสามารถที่โดดเด่นและน่าชื่นชม เราจึงไม่อยากให้ทุกคนเหมารวมหรือตีตราว่าคนที่เป็นออทิสติกทุกคนจะเป็นแบบใดแบบหนึ่งหรือมีพัฒนาการที่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคและปัจจัยอื่นๆ แต่อยากให้เชื่อว่าเขาเป็นคนที่สามารถพัฒนาได้เหมือนเรานี่แหละ

อย่างที่บอกว่าคนที่เป็นออทิสติกจะมีอาการแตกต่างกันไปสารพัดรูปแบบ เรียกว่าเด็กร้อยคนก็ร้อยแบบ ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว จะนำวิธีสอนแบบเดียวกันไปใช้กับพวกเขายังไม่ได้ด้วยซ้ำ ต้องปรับไปตามลักษณะของแต่ละคน ซึ่งถ้าลองมองดูแล้วก็เหมือนเวลาเราสอนเด็กคนอื่นนั่นแหละ ไม่มีเด็กที่เหมือนกันทุกคนต่างเติบโตในแบบของตัวเอง ฉะนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการที่เราจะดูแลและใส่ใจเด็กคนหนึ่งเลย การจะเข้าใจพวกเขาอาจไม่ง่าย แต่ถ้าส่งเสริมให้ถูกทางและตั้งใจเลี้ยงดูก็สามารถพัฒนาได้

พอเรามีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นแล้วการจะมองว่าชื่อโรคหรืออาการต่างๆ เป็นมุกตลกก็คงไม่ใช่ น่าดีใจที่ปัจจุบันเราเห็นหลายคนในโลกออนไลน์พยายามช่วยกันหยุดการใช้คำพูดสร้างเรื่องตลกที่ไม่ตลก หันมาระมัดระวังและตักเตือนกันเรื่องการใช้คำพูดบูลลี่กันมากขึ้น เพราะความเคยชินที่สั่งสมมานาน การจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมกับเรื่องล้อเลียนเสียดสีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยทั้งเวลาและความเข้าใจเป็นตัวตั้ง

สุดท้ายเราหวังว่าเหตุผลและข้อมูลที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้การหยิบยกคำๆ หนึ่งไปพูดต่อได้รับการตระหนักและเอาใจใส่มากขึ้น ไม่รู้ไม่เป็นไรแต่เราเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ได้ ถ้าเราไม่รู้ความหมายก่อนที่จะใช้มัน ให้ลองศึกษาดูก่อนแล้วจึงทบทวนว่าควรสื่อสารออกไปไหม เพื่อลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นได้ อย่างที่รู้ว่าโลกโซเชียลนั้นไปไว อย่าทำร้ายใจใครด้วยความประมาทของเราเลยนะ นอกจากนี้ทุกคนยังสามารถไปตาม #เลิกเมกฟันกับโรคทางจิตเวช ในทวิตเตอร์ได้เลย มีข้อมูลดีๆ ที่คนในสังคมนำมาแบ่งปันกันมากมาย

หากเพื่อนๆ คนไหนกำลังอึดอัดใจ ไม่มีความสุขกับมุกตลกที่คนอื่น make fun เกี่ยวกับเราหรือคนที่เรารัก อูก้าอยากชวนให้เข้ามาพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาของเรา ช่วยกันดูแลจิตใจและข้ามผ่านปัญหาไปพร้อมกับเราได้ อูก้ายินดีรับฟังคุณเสมอนะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://th.rajanukul.go.th/preview-4005.html

https://teen.mthai.com/variety/57036.html

Read More
ทำไมคุยกับคนแปลกหน้าแล้วสบายใจ

OOCAstory: ยินดีที่ไม่รู้จัก ทำไมการเล่าเรื่องให้คนไม่สนิทฟัง ถึงสบายใจกว่า

ทำไมฉันกล้าเล่าเรื่องสำคัญให้เขาฟังได้ทั้งที่เพิ่งเจอหน้าและอาจเป็นแค่ครั้งเดียวที่เจอกันด้วยซ้ำ เป็นเพราะเราไว้ใจเขาหรือเป็นเพราะเราไม่ไว้ใจตัวเองมากพอที่จะเปิดเผยบางมุมให้คนที่รู้จักเรารับรู้ เชื่อว่าหลายคนเคยถามคนที่ไม่สนิทถึงวิธีดีลกับคนใกล้ตัว เช่น “เราจะพูดเรื่องงานกับที่บ้านยังไงดี บอกตอนไหนให้เขาเสียใจน้อยที่สุด กลัวเขาโกรธจังเลย” ทั้งที่จริงๆเราสนิทกับครอบครัวมากกว่าคนที่เราไปขอคำปรึกษา แต่เพราะเราแคร์มาก การจะเล่าอะไรสักอย่างเลยถูกปิดกั้นด้วยความกังวลแทน

อย่างในซีรีส์ญี่ปุ่นเราจะเห็นฉากที่พนักงานนั่งดื่มเบียร์แล้วคุยปรับทุกข์กับเจ้าของร้านอาหาร หรือหนังฝรั่งที่ไปนั่งตามบาร์แล้วเกิดบทสนทนาที่ลึกซึ้งกินใจ ทั้งๆที่ตัวละครไม่ได้ความสัมพันธ์อะไรมากไปกว่าคนรู้จักแบบผิวเผิน แล้วส่วนใหญ่เรื่องที่เล่าก็เกี่ยวกับคนที่เรารักและแคร์ทั้งนั้น

ทำไมผู้คนถึงแชร์เรื่องส่วนตัวกับคนที่ไม่สนิท? ง่ายๆเลยคือพวกเขาไม่รู้จักเราดี บางทีเราก็ไม่ได้อยากจะเล่าแต่เรื่องราวที่ประสบความสำเร็จหรือด้านดีๆของตัวเอง เลยเลือกจะเล่าให้คนไม่สนิทฟังเพราะพวกเขาไม่มีอคติ ไม่อินหรือตัดสินชีวิตเรา หรือต่อให้เขาแสดงความคิดเห็นกลับมา เราก็ไม่ได้ให้น้ำหนักกับมันมากเท่าเวลาที่คนสนิทเราบอก รวมถึงไม่ต้องกังวลว่าเรื่องของเราจะถูกเล่าต่อในแวดวงคนรู้จัก

แน่นอนว่าเราคาดหวังจากการพูดถึงเรื่องส่วนตัวหรือปัญหาต่างๆ ทำให้อดคิดถึงท่าทีที่จะตามมาของอีกฝ่ายไม่ได้ อย่างบางหัวข้อที่เรารู้สึกว่า sensitive มากๆ เช่น ครอบครัว ความรัก รสนิยมทางเพศ เรากล้าที่จะเล่าอย่างสบายใจก็ต่อเมื่อเรารู้ว่ามันจะไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตจริงและคนที่รับฟังจะไม่สามารถติดต่อหรือทำอะไรเราได้ แต่หากเป็นคนรู้จักหรือคนรอบตัว เราจะคิดมากกับสายตาที่เขามองมาว่าชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่เราสร้างมาอาจมีคุณค่าต่างไปจากเดิม ซึ่งเรามักจะอึดอัดเวลาคนรอบตัวจับต้นชนปลายแล้วเอาเรื่องอดีตปัจจุบันอนาคตมารวมกัน เพื่อตัดสินเราแค่เพียงเพราะพวกเขารู้จักเราดี โดยที่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่เราอยากให้เขาโฟกัสเลย

สำหรับคนไม่สนิทกัน เรารู้ว่าไม่ว่าเขาจะคิดยังไงกับเราในชีวิตจริง เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีอิทธิพลกับชีวิตจึงไม่ต้องแคร์อะไรกันมากมาย กลายเป็นสบายใจและมีความสุขที่ได้แชร์ประสบการณ์และพูดถึงอะไรก็ได้ที่อยากจะพูดโดยคิดแค่ว่ามันคือการปลดปล่อยตัวตนแบบไร้ชื่อ คล้ายๆหนังเรื่อง “กวน มึน โฮ” ที่ตัวละครต่าง “ยินดีที่ไม่รู้จัก” แต่เต็มใจที่จะแบ่งปันทุกข์สุขร่วมกัน

ไม่ใช่ว่าเราจะเล่าแต่เรื่องเศร้าๆ ด้านแย่ๆ ของตัวเองให้คนอื่นฟัง บางครั้งเรื่องของเราอาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคนก็ได้ กลายเป็นความรู้สึกอิ่มใจที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดแง่ดีและสร้างพลังบวกให้แก่กันและกัน

การพูดคุยกับคนไม่สนิทอาจนับได้ว่าเป็นอีกทางเลือกในการปลดปล่อยความในใจที่เหมาะกับบางคน ไม่ได้เป็นวิธีที่ไม่ดีแต่เล่าแล้วอย่าลืมแก้ปัญหาด้วยล่ะ ไม่งั้นต่อให้เล่าให้คนอื่นฟังแล้วความเครียดก็จะวนกลับมาได้อีก

อย่าลืมแคร์คนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด นั่นคือตัวคุณเอง สำหรับทุกเรื่องราวที่อยากจะเล่าให้ใครสักคนฟัง อูก้ายินดีอยู่กับคุณเช่นกันนะ ติดต่อเข้ามาพูดคุยกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราได้เสมอเลย

Read More
ไม่สบายใจหาคนรับฟัง จิตวิทยา

OOCAinsight: เธอโอเคไหม เก็บอะไรไว้  “ไหนเล่า”

“เราปลอบคนไม่เก่ง แกลองเอาไปฟังล่ะกัน” คืนนั้นเพื่อนส่งเพลง “ไหนเล่า” ของ AUTTA x BLACKSHEEP x MILLI มาให้ (ฟังเพลงเต็มๆ ได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=YIgvov0RfK8) ต้องบอกเลยว่าแค่ท่อนแรกที่ได้ฟังก็ทั้งซึ้งทั้งขำเพื่อน อาจจะจนปัญญาที่จะปลอบเราจริงๆ นั่นแหละ แต่สุดท้ายก็ไม่ทิ้งเราไปไหนอยู่ดี

.

“เธอโอเคไหม เก็บอะไรไว้

พร้อมรับฟังถ้าหากไม่ไหว

ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นอะไร

ขอบคุณที่เชื่อใจและเล่าให้ฟัง”

.

บางครั้งเราไม่รู้เลยว่าการปลอบใจคนๆ หนึ่งต้องพูดอะไรบ้าง รู้แค่ว่าถ้าปล่อยให้นั่งคิดอยู่คนเดียว จมอยู่กับวงจรความเศร้า เขาอาจจะเป็นบ้าตายเหมือนท่อนหนึ่งในเพลงที่บอกว่า

.

“ทุกความรู้สึกแย่ๆ บางครั้งเกินแก้จนอาจจะเก็บกด”

.

ถ้าแบกเอาไว้นานเกินไปพื้นที่ในใจคงถูกทับถมด้วยความรู้สึกลบเต็มไปหมด แต่ถ้าเราทำความเข้าใจกับคำว่า “ชีวิต” เราจะพบว่าบางทีมันก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จ หนึ่งอาจจะไม่ได้ไปสองแล้วต่อด้วยสาม เราต้องทำเหมือนคนอื่น หรือทุกวันจะต้องมีความสุขเท่านั้น เพราะชีวิตมันสามารถพลิกแพลงเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น

.

แล้วถ้าวันไหนที่มีเรื่องไม่สบายใจ การที่เธอเล่าให้เราฟัง ไม่ใช่แค่เธอได้ระบายนะ แต่เราเองก็รู้สึก “ขอบคุณ” ที่ไว้ใจจะเล่าให้เราฟังเหมือนกัน ไม่รู้หรอกว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง แต่เก็บไว้คงมีแต่จะบั่นทอนจิตใจ เพราะงั้นเราเลยอยากบอกว่าถ้าอยากเล่าหรือพร้อมจะบอกตอนไหน ไม่ว่าจะเรื่องอะไร เฟลแค่ไหนก็บอกได้เสมอ

.

เพลงนี้กำลังบอกให้เราหันกลับมาแคร์ใจตัวเองในวันที่ไม่ไหว ยังมีคนที่พร้อมจะอยู่ข้างเราเสมอ เป็นธรรมดาชีวิตเราต้องมีทั้งวันที่ดีและร้าย ต่อให้วันนี้จะเสียใจแต่มันเป็นเพียงเรื่องที่ผ่านเข้ามาแล้ววันหนึ่งจะผ่านไป แต่ถ้าเราละเลยไม่ดูแลใจตัวเองให้ดี ความเศร้าคงจะไม่หายไปไหนแถมปัญหาก็จะยังติดอยู่ในใจเราต่อไป

.

ถ้าเหนื่อยมากลองหาที่พักใจ หันไปรอบๆ ตัวแล้วพึ่งพาคนข้างกายบ้าง เชื่อเถอะว่าการเล่าให้ใครสักคนฟังช่วยเยียวยาใจเราได้ ถ้าผ่านเวลาร้ายๆ ไปได้แล้วก็หันไปขอบคุณเขาสักนิด เพราะ “การรับฟัง” มันยิ่งใหญ่พอจะเรียกว่า “ความรัก” ได้เลยนะ

.

คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเล่าปัญหาให้ใครสักคนฟัง เพราะต้องอาศัยทั้งความสนิท ความไว้ใจและเชื่อใจ ถ้าวันนี้ยังไม่รู้จะบอกใคร นึกถึงอูก้าก็ได้นะ เรายินดีรับฟังทุกคนเสมอ เพราะเรื่องของใจเราพร้อมจะช่วยดูแล

Read More
ทำไมเราไม่เก่งเท่าคนอื่น

OOCAissues: อย่าเปรียบเทียบความไม่สบายใจ “ของเขา” กับ “ของใคร”

ในวันที่คนรอบข้างของเราไม่สบายใจ คงจะดีมากถ้ามีใครสักคนคอยรับฟังและให้คำปลอบใจเขา แต่ถ้าคำปลอบใจนั้นคือ “ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย มีคนอื่นที่เจอมาหนักกว่าเธออีกเยอะแยะ เรื่องแค่นี้จิ๊บ ๆ” เขาจะรู้สึกสบายใจขึ้นจริงใช่ไหม หรือนั่นจะทำให้เขาเกิดคำถามขึ้นมาว่า เรื่องของเขามันเล็กน้อยกว่าของคนอื่นจริงหรือ?

อูก้าอยากให้ทุกคนเข้าใจความรู้สึกของผู้ที่ต้องการกำลังใจให้มากขึ้น และยังมีคำแนะนำดี ๆ จากนักจิตวิทยามาให้เพื่อน ๆ กันด้วย

#คำตอบจากนักจิตวิทยา

การที่เขาจะรู้สึกดีขึ้น โดยยกตัวอย่าง หรือเปรียบเทียบคนที่กำลังแย่กว่าเขา เพื่อให้เขาสบายใจและรู้สึกดีกับตนเองมากขึ้น เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ดังที่ แอดเลอร์ นักจิตวิทยาชื่อดัง อธิบายว่า วิถีชีวิต (style of life) ของแต่ละคน มีแบบแผนการดำเนินชีวิต และเป็นบุคลิกภาพที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งไม่มีใครเหมือนคนอื่นเลย ทำให้ไม่สามารถนำชีวิตของแต่ละคนมาเปรียบเทียบกันได้เลย เมื่อเรากำลังพูดถึงแนวทางที่ทำให้เขารู้สึกดีขึ้นและปลอบใจด้วยวิธีที่ยั่งยืน เป็นการดีที่เราจะสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งทางใจให้เขาก่อน ทำให้เขามีกำลังใจที่จะเผชิญสิ่งที่เกิดขึ้น ค้นหาปัญหาและสาเหตุว่าคืออะไร ตั้งเป้าหมายและค้นหาแนวทางแก้ปัญหาให้ได้ การปลอบโยนทางใจจะช่วยทำให้เขารู้สึกดีขึ้น ช่วยให้เขามีพลัง ช่วยทัดทานความเครียดและความไม่สบายใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น นอกจากนี้การแสดงถึงความเข้าใจซึ่งกันและกันก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยทำให้เขาไม่รู้สึกอ้างว้างอีกต่อไป

#คำตอบจากทีมงานของอูก้า

ในการให้กำลังใจกัน มีหลายวิธีที่จะพูดให้เขารู้สึกดีขึ้นนะ การที่เราบอกกับเขาว่าเรื่องที่เขาเจอเป็นเรื่องที่เล็กน้อยอาจทำให้ยิ่งรู้สึกไม่สบายใจมากกว่าเดิม เพราะสำหรับสิ่งที่เขากำลังเจอ อาจเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับจิตใจมากแล้วก็ได้ ถึงแม้เราจะหวังดีและไม่อยากให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่เจอมันหนักหนาจนผ่านไปไม่ได้ แต่ก็ต้องระวังไม่ให้เขาเข้าใจว่าเราเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยกว่าที่คนอื่นเจอมา เราควรแสดงให้เขาเห็นว่าเราเข้าใจ และพร้อมที่จะให้กำลังใจไม่ว่าเขาจะเจอเรื่องอะไรมาก็ตาม เพื่อให้เขารู้สึกสบายใจขึ้นจริง ๆ เราอาจจะพูดปลอบโยนว่า “ไม่ว่าเธอจะเจออะไรมา อยากให้รู้ว่าเธอไม่ได้ตัวคนเดียวนะ” หรือ “ฉันเข้าใจและจะรับฟังเธอเสมอ” คำปลอบใจเพียงเท่านี้ ก็สามารถทำให้เขาสบายใจขึ้นเมื่อรู้ว่าเขาไม่ได้ตัวคนเดียว

การที่มีใครสักคนเข้าใจ ก็ถือเป็นเรื่องที่สามารถทำให้ใครหลายคนสบายใจขึ้นมาได้เยอะมาก เพียงแค่เราแสดงออกถึงการให้กำลังใจและความห่วงใยด้วยวิธีที่ดีขึ้น เชื่อว่าเขาต้องรู้สึกดีและผ่านไปได้อย่างแน่นอน

ถ้าใครที่กำลังไม่สบายใจอยู่ อูก้าพร้อมที่จะรับฟังทุกคนเสมอ หรือถ้าอยากได้ที่ปรึกษาและคำแนะนำดี ๆ ก็สามารถโหลดแอป OOCA เพื่อคุยกับจิตแพทย์ของเราได้เลย เราเป็นกำลังใจให้นะ

Read More
Skinship คืออะไร วิธีเติมกำลังใจ

OOCAstory : Skinship สักหน่อย แทนการให้กำลังใจ

“เหนื่อยหรือเปล่า? เธอเป็นอะไรมั้ย? มีอะไรเล่าให้ฟังได้นะ เราเป็นกำลังใจให้”

คำพูดเหล่านี้คงเป็นเหมือนยาดี ๆ ที่ช่วยรักษาให้กับคนที่กำลังท้อแท้และขาดกำลังใจ ในวันที่เขาต้องเจอกับเรื่องผิดหวังมากมาย การพูดแสดงถึงความเป็นห่วงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เขารู้สึกดีขึ้นได้มากแล้วนะ

วันที่เราอยู่ไกลกัน เราก็ยังพิมพ์ให้กำลังใจกันได้ผ่านตัวอักษรเป็นข้อความ และในวันที่เราอยู่ข้างกัน เราก็สามารถปลอบโยนเขาด้วยคำพูดดี ๆ ได้อย่างเต็มที่ หลากหลายวิธีที่เราสามารถแสดงถึงกำลังใจและความรู้สึกเป็นห่วงให้กับเขา แต่รู้หรือเปล่า ยังมีอีกวิธีที่สามารถส่งผ่านความรู้สึกจากเราไปหาเขาได้โดยตรงเลยนะ นั่นคือการ “skinship” ไงล่ะ

ในการสื่อสารความรู้สึกที่เรามีออกมาให้คนรอบข้างได้รับรู้ นอกจากจะใช้การพูดและการพิมพ์เป็นข้อความแล้ว การสัมผัสร่างกายก็เป็นอวัจนภาษาที่สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี เคยหรือเปล่าที่เราเผลอไปสัมผัสตัวคนที่เราแอบปลื้มแล้วก็รู้สึกเขินขึ้นมาทันที หรือจะเป็นตอนที่เรากอดกับใครสักคนแล้วรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สิ่งนี้แหละที่แสดงให้เห็นถึงพลังและความรู้สึกของการ skinship ถ้าเราเจอคนรอบข้างที่ต้องการกำลังใจอยู่ ลองใช้วิธีนี้แทนการให้กำลังใจเขาดูนะ

สำหรับบางคน การสื่อสารความรู้สึกด้วยการสัมผัสร่างกายก็เป็นอะไรที่เคอะเขินเกินกว่าจะทำได้ง่าย ๆ ใช่ไหม เป็นเรื่องปกติที่จะมีปัจจัยอื่นเข้ามาทำให้เราไม่กล้า skinship กับใคร เช่น ไม่กล้าเพราะคิดว่ายังไม่สนิทกันมากพอ หรืออาจจะเพราะว่าเราเป็นผู้ชาย และอาจเพราะแสดงสิ่งเหล่านี้ไม่บ่อย แต่รู้หรือเปล่า ว่าการ skinship แทนการให้กำลังใจก็มีหลากหลายวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคนออกไป สำหรับผู้ชาย การใช้แขนโอบไหล่เพื่อนของเรา ตบบ่าเบา ๆ สักหน่อย ก็ถือเป็นการให้กำลังใจที่ดูเข้ากับเราดีนะ และสำหรับผู้หญิงทุกคน การเอามือของเราไปจับมือเพื่อนพร้อมทั้งพูดให้กำลังใจ ก็เป็นภาพที่ดูจริงใจและน่ารักมาก ๆ เลย หรือใครที่คนในครอบครัวของเรากำลังเศร้า การเข้าไปกอดหรือหอมแก้มกันเล็กน้อยก็ช่วยเติมเต็มกำลังใจให้เขาได้เป็นอย่างดีทีเดียว

เห็นไหม ไม่ว่าเราจะเป็นใครหรือสถานะไหน เราก็สามารถหาวิธีให้กำลังใจคนรอบข้างของเราด้วยการ skinship ได้ เพราะทั้งหมดแล้วก็เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ดีทั้งนั้นเลย โอบเพื่อนบ้างหรือลองจับมือกันบ้าง กอดแฟนของเราเอาไว้ และหอมแก้มคุณพ่อคุณแม่สักครั้ง เพราะพวกเขาต้องการสิ่งนี้ และรับรองว่าพวกเขาจะต้องได้รับกำลังใจจากเราอย่างแน่นอน

อย่าอายไปเลยนะ ลอง skinship ดูสักหน่อย เพราะกำลังใจเล็กน้อยจากเรา อาจมีความหมายที่ยิ่งใหญ่กับใจของเขาก็ได้ และใครที่กำลังเจอปัญหาอยู่ อูก้าก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ถ้าอยากได้คำแนะนำจากเราก็สามารถทักมาหาเรา หรือปรึกษากับจิตแพทย์ผ่านแอปพลิเคชั่น OOCA ได้เลย เราคอยรับฟังทุกคนเสมอ 🙂

Read More
สังคมแห่งการให้คืออะไร

OOCAknowledge : สร้างสังคมแห่งการให้ด้วยแนวคิด Pay it forward

หลายคนอาจจะเคยรู้สึกว่าเสียง หรือการกระทำเล็ก ๆ ของเรา คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งที่ยิงใหญ่ได้

หากเราต้องการสร้างสังคมให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น การส่งต่อการให้ หรือ

แนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับเรื่องทางสังคม ทุกคนลองคิดดูว่าถ้าเรานำลูกโซ่แห่งความดีไปใช้ เราจะสามารถทำความดีให้กับคนอื่นได้เป็นวงกว้างอีกหลายคน หรือเพียงแค่เราได้ทำดีให้กับผู้อื่นโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน โดยเริ่มจากที่ตัวเราเอง ให้เราเป็นจุดแรกที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ และส่งต่อสิ่งนี้กันไปเรื่อย ๆ สังคมของเราคงจะน่าอยู่ขึ้นเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าเราจะเป็นจุดเล็ก ๆ ของสังคม แต่แนวคิดนี้คงจะทำให้เห็นแล้วว่าผลลัพธ์จากการกระทำของเรามีส่วนช่วยผู้อื่นได้จริง ๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่องของสุขภาพจิต ผู้คนมากมายในสังคมยังคงประสบปัญหาเรื่องนี้อยู่มากโดยที่บางคนก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านจิตใจ และยังต้องดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม การที่เรายื่นมือเข้าไปช่วยกับผู้ที่ประสบปัญหาทางใจด้วยวิธีเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็น การให้กำลังใจ การแสดงถึงความเป็นห่วง หรือแม้แต่คอยรับฟังและช่วยแนะนำแนวทางให้กับเขา เพียงเท่านี้ก็อาจเป็นการส่งต่อความช่วยเหลือจากเราไปสู่เขาได้แล้ว บางปัญหาของเขาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากกำลังใจและคำแนะนำ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถเป็นผู้ริเริ่มที่จะส่งต่อลูกโซ่ความดีให้กับผู้ที่กำลังเจอปัญหาในจิตใจได้ เราก็อย่าลังเลที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือและทำสิ่งดี ๆ ให้กับเขานะ เพราะการตัดสินใจเริ่มทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราอาจเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับใครอีกหลายคน

นอกจากการเริ่มส่งต่อความดีจากตัวเราให้ผู้อื่นแล้ว ในบริบททางสังคมเมื่อเห็นผู้อื่นกล้าที่จะเริ่มทำอะไรก็ตาม ก็อาจเป็นการสร้างผลลัพธ์ที่ดีและจุดประกายให้ผู้อื่นได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การที่เราเริ่มออกมาพูดเรื่องของสุขภาพจิต ส่งผลทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความเข้าใจผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น และยังส่งผลให้ผู้ที่กำลังประสบปัญหากล้าที่จะออกมาปรึกษาผู้อื่นและไม่เก็บเรื่องราวในใจไว้คนเดียว ทำให้เรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าใจและช่วยเหลือกันและกันได้มากขึ้น

เห็นไหมว่าแค่เรากล้าที่จะริเริ่มทำสิ่งที่ดี ผลลัพธ์ที่ดีก็จะเกิดขึ้นมากมายในสังคม โดยเริ่มจากที่ตัวเราเอง เพราะแค่เราเริ่ม ก็เท่ากับว่าเราได้ส่งต่ออย่างไม่รู้จบแล้ว

อูก้าขอเป็นอีกจุดเริ่มต้นที่จะส่งต่อกำลังใจและให้คำแนะนำดี ๆ กับทุกคนที่กำลังเจอปัญหา ถ้าใครมีเรื่องไม่สบายใจ เรามีคนที่คอยรับฟังอยู่เสมอเลยนะ

Read More
ทำไมคนอื่นไม่เข้าใจเรา

OOCAissue : Bad Talker ไม่มีใครเข้าใจคุณ เพราะสื่อสารผิดวิธี

บางครั้งเมื่อถ่ายทอดความคิดหรือพูดถึงสิ่งที่หลงใหล เรามักจะปล่อยให้สมองทำงานไปเรื่อยๆ และพูดไปด้วยคิดไปด้วย เราสื่อสารเพื่อให้คนอื่นรับฟังแต่หากพูดเร็วเกินไปหรือใช้โทนเสียงผิดอาจกลายเป็นอุปสรรค

.

เมื่ออยู่ระหว่างการพูดคุย โต้แย้งหรือถกเถียง เราอาจรู้สึกเหมือนกำลังแข่งขันกับอีกฝ่ายและรู้สึกว่าไม่มีใครตั้งใจฟังจริงๆ พวกเขาจึงเริ่มพูดให้เร็วและดังขึ้น ซึ่งนิสัยการพูดที่เปลี่ยนไปอาจเป็นสัญญาณของความเครียด เมื่อร่างกายของคุณรู้สึกกดดันอย่างมากจังหวะในร่างกายทั้งหมดของคุณจะเร็วขึ้นรวมถึงการพูดด้วย

.

สื่อสารผิดวิธีเกิดส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?

1. ความประทับใจติดลบ

มุมที่เป็นอันตรายที่สุดของการพูดเร็วเกินไปคือทำให้เกิดความประทับใจที่ไม่ดีได้ บางครั้งเราอาจคิดว่าการพูดเร็ว ทำให้ดูมั่นใจและเก่ง หากเราพยายามนำเสนอบางอย่างด้วยจังหวะและโทนเสียงที่เร้าอารมณ์เกินไปอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดเหมือนถูกบังคับ ทั้งที่คุณอาจจะเตรียมสิ่งดีๆ มานำเสนอ แต่ท่าทีที่แสดงออกกลับสื่อถึงความก้าวร้าว ไม่ใส่ใจผู้ฟัง อีกแง่หนึ่งอาจถูกมองว่าพูดเร็วเนื่องจากกังวลหรือขาดความมั่นใจ รีบพูดเพราะไม่รู้จะพูดอะไร ลองสังเกตดูว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จมักจะสื่อสารชัดเจน มีจังหวะและโทนเสียงที่จับใจคนฟัง

2. ทำให้ผู้ฟังเสียสมาธิ

การพูดเร็วเกินไปและเสียงที่ดังอาจทำให้คนฟังเสียสมาธิ เพราะนอกจากจะสร้างความระคายหูแล้วยังทำให้รำคาญใจ ยิ่งไปกว่านั้นคนที่พูดดังมักจะหัวเราะเสียงดังอีกด้วย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้สิ่งที่ต้องการสื่อส่งไปไม่ถึง ผู้ฟังก็เหนื่อยที่จะตามบทสนทนาที่ดำเนินอยู่ฝ่ายเดียว สุดท้ายอาจแค่พยักหน้าเหมือนเข้าใจในสิ่งที่คุณพูด แต่จริงๆ พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมแล้ว

3. เข้าใจไม่ตรงกัน

ไม่ใช่แค่ข้อความที่สำคัญ แต่น้ำเสียงและจังหวะสามารถเปลี่ยนความหมายของสิ่งที่สื่อได้เลย ในการพูดคุยไม่ควรมีใครต้องเอ่ยว่า “ขอโทษนะ แต่เราฟังไม่ออก ช่วยพูดอีกครั้งได้ไหม” เพราะมันแสดงว่าความน่าเชื่อถือของผู้พูดลดลงแล้ว แถมเรื่องที่เล่ายังตีความได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจในครั้งเดียว

ทำอย่างไรไม่ให้พูดเร็วเกินไป

– รู้จักเว้นจังหวะเป็นระยะ พูดช้าลงเมื่อพูดถึงประเด็นสำคัญ เน้นบางคำช้าๆ ชัดๆ

– จดโน้ตย่อสำหรับประเด็นที่จะพูด

– สื่อสารกับผู้ฟัง ทั้งภาษาพูดและภาษากาย

– กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน

– ใช้พลังของการฝึกฝน พูดซ้ำๆ จนได้จังหวะและโทนเสียงที่เหมาะสม

ทั้งนี้การพูดเร็วก็มีข้อดีและเหมาะสำหรับบางประเด็นหรือบางอาชีพ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องการโน้มน้ามใจให้คนอื่นเห็นด้วย แต่ต้องให้ผู้ฟังมีเวลามากพอจะคิดตามและทบทวน นอกจากนี้ผู้ฟังเองก็ต้องฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) คือไม่ใช่รับฟังแต่ข้อความเท่านั้น แต่ต้องดูสีหน้า ท่าทางและความรู้สึกที่ผู้พูดซ่อนอยู่ด้วย แล้วพยายามทำความเข้าใจโดยปราศจากอคติ

การจะโน้มน้าวคนอื่นด้วยคำพูดเราต้องมีวาทศิลป์ที่จะถ่ายทอดความคิดของเราออกมา ด้วยจังหวะและน้ำเสียงที่พอดี การสื่อสารจึงจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ คุณไม่จำเป็นต้องกังวลกับการพูดอีกต่อไป ขอเพียงคุณพร้อมที่จะพูดคุยกับเรา พี่ๆนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเรายินดีรับฟังคุณเสมอ ตอนนี้เรามีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจรอคุณอยู่ด้วยนะ

อ้างอิงจาก

https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-4129448/Fast-talkers-AREN-T-effective-communicators.html

https://www.americanexpress.com/en-us/business/trends-and-insights/articles/slow-down-why-speaking-too-fast-can-hurt-your-message/

https://www.throughlinegroup.com/2014/03/17/slow-down-how-to-stop-being-a-fast-talker/

Read More
Empathy การรับฟังผู้อื่น

Empathy กับการรับฟังผู้อื่น

อยากฟังเพื่อนแบบจริงจัง ไม่ใช่ฟังผ่านๆ หูไป อยากให้เพื่อนรู้ว่ายังมีเรานะที่อยู่ตรงนี้เพื่อนรับฟังเธอ เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ??

Read More