ชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น

“เหลือเชื่อเหมือนกันว่ายังคงมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้นอยู่จริงๆ”
.
ขอชวนโอบกอดความคิด (ไม่) สั้น เพราะวันนี้คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล (World Suicidal Prevention Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่องค์กรอนามัยโลกและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะจิตกำหนดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ⛅
.
สถิติระบุว่าในทุก ๆ วัน มีคนที่เลือกจะจบชีวิตด้วยตนเองวันละ 11-12 ราย นอกจากนี้ จากสำรวจของกรมสุขภาพจิต ยังพบว่า สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย มาจากปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (48.7%) ซึ่งในหลายครั้ง ความสูญเสียก็เกิดขึ้นโดยที่หลายๆ คน อาจไม่ทันได้ตั้งรับ และสังคมรวมถึงสื่อยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการมองว่า การฆ่าตัวตาย คือการ “คิดสั้น”

.

ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือสาธารณชน มักจะมองว่าการฆ่าตัวตาย คือ “การคิดสั้น” แต่แท้จริงแล้ว การฆ่าตัวตายมีกระบวนการถึง 3 ขั้นตอนก่อนจะนำมาสู่การตัดสินใจจบชีวิต อันได้แก่

.

  1. Suicidal Thought หรือ ความคิดทำร้ายตนเอง

2.Suicidal Plan คือ ขั้นตอนการวางแผนและหาวิธีที่จะทำร้ายตนเอง

3.Suicidal Attempt หรือ ขั้นตอนการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายตนเอง

.

ดังนั้น การจบชีวิตด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน และต้องตัดสินใจอยู่หลายตลบกว่าจะปะทุไปสู่ขั้นตอนสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น การแปะป้ายว่า “การฆ่าตัวตาย = การคิดสั้น” เป็นการมองข้ามต้นตอของปัญหาและอาจสร้างภาพจำผิด ๆ แก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ

.

⛅ อาจารย์สิริพร เอมอ่อน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแอพลิเคชันอูก้า เผยว่า การฆ่าตัวตายนั้น ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

.

1) ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors) เช่น สารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน ฮอร์โมนคอร์ติซอล อยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล

.

2) ปัจจัยทางจิตวิทยา (psychological factors) ได้แก่ พฤติกรรมและบุคลิกภาพ เช่น คนที่มีนิสัยเป็น perfectionist ก็จะมีแนวโน้มกลัวความผิดพลาด และมีโอกาสเครียดง่ายกว่าคนกลุ่มอื่น

.

3) ปัจจัยทางสังคม (sociological factors) คือปัญหาที่มาจากสังคมภายนอกและสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ สภาวะทางเศรษฐกิจ หรือความตึงเครียดจากภาระงาน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ อาจารย์สิริพรยังเสริมอีกว่า ปัญหาการแม้ว่าจะมีปัจจัยไม่ครบทั้งสามด้าน เพียงแค่ปัจจัยเดียว ก็มากพอที่จะกระตุ้นให้คนหนึ่งคน เกิดความคิดทำร้ายตนเอง ดังนั้น การเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัจจัยทาง 3 ด้าน อย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง จากความคิดทำร้ายตัวเองซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

.

โดยที่อาจารย์สิริพรยังได้มอบคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการคนใกล้ชิดของเรา ผ่านการจับสัญญาณจาก 2 จุดหลัก ๆ ได้แก่ สัญญาณ verbal หรือ คำพูด และ สัญญาณ non-verbal หรือ ภาษากายและพฤติกรรม

.

⛅ หากเป็นสัญญาณ verbal เราอาจสังเกตว่า คนนั้นมักจะบ่นหรือระบายว่า “เบื่อโลก หรือ ท้อแท้” นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียถี่ขึ้นผิดปกติ การโพสต์สเตตัสระบาย หรือ การแชร์ข้อความหรือเพลงเศร้า ๆ ก็นับเป็นอีกสัญญาณที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
.

⛅ ในส่วนของสัญญาณ non-verbal อาจสังเกตได้ว่า คนใกล้ชิดของเรา มีอาการซึมเศร้า ไม่มีแรง หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากผู้อื่นอย่างผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ หากพบรอยแผลตามร่างกายของคนนั้น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญว่า เขากำลังต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ก็เป็นได้

.

⛅ นอกจากนี้ อาจารย์สิริพรยังแนะนำว่า เมื่อไหร่ที่หลุดเข้าไปอยู่ในห้วงความเศร้าเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถหาทางออกมาจากความรู้สึกเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง หากเราเริ่ม รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเอง และตระหนักอยู่เสมอว่าความเศร้าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด เราก็อาจมีโอกาสหาทางออกให้กับชีวิตได้

.

⛅ แม้ว่าการตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้า จะเหมือนกับการว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรโดยมองไม่เห็นชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความช่วยเหลืออีกมากมายในโลกนี้ที่รอให้เราเดินเข้าไปหา ไม่ว่าจะจากคนแปลกหน้า คนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญ

.

💙💙 โดยเนื่องในเดือนป้องกันการฆ่าตัวตายสากลนี้ ผู้ใช้บริการปรึกษาปัญหาใจกับอูก้าครั้งแรก จะได้รับส่วนลด 5% เมื่อจองนัดหมายและกรอกรหัส OOCACARES ผ่านแอปพลิเคชัน ooca 💙💙 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ https://ooca.page.link/fbnewcomer2 และใช้โค้ดได้ถึง 30 กันยายน 2565 (*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ) ⛅

Read More

เมื่ออาการทางกาย หลายครั้งสัมพันธ์กับอาการทางใจ

อ.สลิลทิพย์ มาตรา นักจิตวิทยาของอูก้า เล่าให้เราฟังว่า “หลายๆ คน เลือกที่จะเพิกเฉยกับความเครียดหรือความเจ็บปวดทางใจ จนกว่าอาการดังกล่าวจะถึงจุดพีคแล้วค่อยเข้ามาหาผู้เชี่ยวชาญ” แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถมาหาผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคลี่คลายความเครียดและความกังวลก่อนที่ทุกอย่างจะสายและพังทลายลงมา

.

โดยเราสามารถเริ่มต้นสังเกต “สัญญาณเตือน” ได้ว่า เรามีอาการเจ็บกายที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือไม่ เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง หรืออาการปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผลปกติที่เกิดจากการทำงานหนัก แต่ที่จริงแล้ว อาการดังกล่าวก็เป็นเสียงสะท้อนของร่างกายที่กำลังบอกใบ้ว่าจิตใจของเรากำลังเหนื่อยล้าและเสียสมดุล

.

ดังนั้น ถ้ารักษาทางกายแล้วไม่ยอมหาย บางทีปัจจัยทางใจก็ต้องถูกเอามาพิจารณาด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งเราสามารถระบายความรู้สึกเหล่านี้ได้กับคนที่เราไว้ใจอย่างเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน แต่ถ้าบางเรื่องเราไม่อยากเล่าให้คนรู้จักหรือคนที่เกี่ยวข้องฟัง การปรึกษากับนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเยียวยาใจเราได้เช่นกัน

.

โดยเฉพาะในระยะหลังมานี้ การให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรในองค์กร ก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางใจให้และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น เพื่อหาทางออกให้รู้สึกเหนื่อยล้าน้อยลงและพัฒนาตัวเราไปสู่เวอร์ชั่นที่มีความสุขกับชีวิตมากกว่าเดิม

.

อูก้าเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ถ้าเพื่อนๆรู้สึกว่ายังต้องการหาใครสักคนมาร่วมทางเพื่อฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน อูก้าก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างทุกคน และหวังว่าจะช่วยคลายความเหนื่อยล้าทางใจของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

.

เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการจุดพักใจที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเอง

.

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official : https://lin.ee/6bnyEvy

รับพลังบวกในแต่ละวันและนัดคุยกับผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันอูก้า

ดาวน์โหลดเลย : https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official :

https://lin.ee/6bnyEvy

Read More

เมื่อไพ่ทาโรต์กลายเป็นที่พึ่งทางใจสำหรับใครหลาย ๆ คน

“ทำไมคุณถึงคิดว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะมีความรักครั้งใหม่ล่ะคะ”

“หมอดูเคยทักว่าจะไม่มีเนื้อคู่ค่ะคุณหมอ อกหักครั้งนี้หนูเลยแอบคิดว่า หรือจะเป็นอย่างที่หมอดูทักจริงๆ”

มีหลาย ๆ ครั้งในชีวิตที่พวกเรารู้สึกอับจนหนทาง รู้สึกต้องการที่พึ่งทางใจ 

ต้องการปรึกษา “ใครสักคน” ที่สามารถบอกทางออกกับเราได้ และถ้าเป็นใครสักคนที่สามารถมองเห็นอนาคตเราได้ ว่ายังไม่ได้อับจนหนทางไปซะทีเดียว ก็พอจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราสู้กับปัญหาตรงหน้าไปได้ นั่นเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะพูดคุยกับหมอดู


ส่วนบางคนก็เลือกจะหันหน้าเข้าหาหมอใจ (นักจิตวิทยา) เมื่อพบว่าการระบายกับเพื่อนไม่เพียงพอ

พฤหัสที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา รายการ #MindPleasureLIVEtalk โดย #อูก้า ได้ชวนทั้งหมอดูและนักจิตวิทยามาสนทนากันในเรื่องนี้

 คุณเอม นักโหราศาสตร์ เจ้าของเพจเฟสบุ๊ค Your Beloved Witch ได้เล่าถึงการดูดวงว่า “คนส่วนใหญ่ชอบดูดวงเพราะว่าอยากรู้เรื่องของตนเอง ถึงพวกเราจะรู้อยู่เเล้วว่าตนเองเป็นอย่างไร บางทีเราก็อยากรู้ในเรื่องของตัวเองจากมุมมองคนอื่น มันสนุก ! และเมื่อได้ยินสิ่งดี ๆ ของตัวเราจากหมอดู เราก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น หรือบางครั้งเค้าเลือกไม่ได้ หรือไม่มีความเชื่อมั่น การมาทบทวนความเชื่อเกี่ยวกับตัวเอง ก็เป็นส่วนที่ทำให้คนที่มาหาเรารู้สึกสบายใจ ”

ในขณะเดียวกัน ทั้งหมอดูและหมอใจ ก็เห็นพ้องต้องกันว่า การรู้อนาคต มีคนรับฟัง จะสร้างความสบายใจหรือความเชื่อมั่นได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่แค่การรู้อนาคตและความเชื่อมั่นนั้นไม่เพียงพอ

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 ได้กล่าวว่า

“มีหลาย ๆ คน ที่อาจจะเลือกเล่าให้เพื่อนฟัง หรือใช้การพยากรณ์ เพราะไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองป่วยจนต้องไปหาหมอ แต่ว่าอาการเจ็บป่วยทางใจที่เริ่มเกิดขึ้นต่อเนื่องแม้ไม่มีเหตุการณ์กระตุ้น เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์ หรือการคิดจบชีวิต ปัญหาประเภทนี้ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็อาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นที่พาเราไปในทิศทางที่ต่างจากการทำนาย”

รวมไปถึงบางครั้ง “หมอดูและนักเยียวยา” รุ่นใหม่ ต่างก็เคยพบเห็นคนที่มาปรึกษาเนื่องจากโดนตีตราจากคำทำนายทายทักเชิงลบ

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “เหตุผลที่เรามาเป็นหมอดู เพราะเราเคยถูกหมอดูทักตอนเด็กๆ ว่าเราจะเรียนไม่จบ ช่วงที่เรียนหนังสือมาตลอดก็จะมีความคิดนี้วนในหัวตลอดเวลาว่าเราจะเรียนได้ไหม จะสอบติดไหม แม้กระทั่งตอนอยู่มหาวิทยาลัยปีสุดท้ายทำทีสิส เรายังวิตกกังวลเลยว่างานของเราจะไม่ผ่านตามที่หมอดูเมื่อหลายสิบปีก่อนว่าไว้ จนมันผ่านไปจริงๆ ถึงพิสูจน์ว่าเออ ก็เรียนจบนี่นา สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เวลาเราดูให้คนอื่น เราจะคำนึงถึงผลกระทบในคำปรึกษาของเรา”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมถึงกรณีผู้มาปรึกษาที่บางทีอาจจะเล่าไม่หมด และหาทางออกไม่พบ ส่วนหนึ่งเพราะไม่กล้าเล่าให้นักจิตวิทยาฟังว่าไปดูดวงมาก่อน 

“มีกรณีที่มีคนมาปรึกษาเรื่อง อยากมีความรัก แต่มีความคิดฝังหัวว่าตัวเองยังไงก็ไม่มีเนื้อคู่ ไม่มีคนรัก เพราะเคยมี #หมอดูทัก แรงจนเสียความมั่นใจ ซึ่งพอเค้าเล่าให้เราฟังแล้ว เราก็จะรู้ว่าอ๋อ มีความกังวลตรงนี้มาก่อน ทางนักจิตวิทยาก็จะสามารถถามถึงเรื่องคุณค่าในตัวเอง และพาไปสำรวจ Esteem ในหลายๆ มิติ – ซึ่งที่จริงทุกเรื่อง ทุกความเชื่อ เล่าให้ฟังได้หมดเลย ไม่ต้องกลัวจะถูกตัดสิน”

และสุดท้าย ไม่ว่าจะหมอดู หรือหมอใจ เรื่องหนึ่งที่มีร่วมกันคือเรามีโอกาสเลือกมองหาทางออก และความช่วยเหลือในแนวทางที่เราสบายใจ 

คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เล่าว่า “หมอดูก็มีหลายแนวนะ บางคนชอบหมอดูที่ฟันธงมาเลยว่าชีวิตจะเป็นยังไง แล้วก็เลือกที่จะเชื่อตามสิ่งที่หมอดูพูด บางคนชอบเปิดไพ่ บางคนดูตามราศี บางคนดู MBTI แต่สำหรับเราที่อ่าน Birth Chart เราคิดว่าสุดท้ายเจ้าของดวงมีสิทธิตัดสินใจเองว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยคำปรึกษาของเราหมายถึงความเป็นไปได้ที่น่าจะเกิดขึ้น จากสิ่งที่เป็นมาในอดีต แต่สุดท้ายเขาเป็นคนเลือกเอง”

คุณมณฑิตา พิศเพ็ง นักจิตวิทยาจากอูก้า 👩🏻‍⚕️💙 เสริมว่า “นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ก็มีคาร์แรคเตอร์ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือแนวทางในการคลี่คลายเรื่องที่มาปรึกษาต่างกัน เหมือนเวลาเราไปร้านอาหาร ถึงเป็นอาหารประเภทเดียวกัน เช่น อาหารญี่ปุ่น แต่ว่าแต่ละร้านก็จะมีรสชาติ มีความเชี่ยวชาญต่างกันออกไปตามความถนัดของเชฟ ซึ่งการอ่านรีวิวก็อาจจะไม่ได้ตอบได้ทั้งหมด เท่ากับการได้ลองเอง”

 คุณเอม (Your Beloved Witch) 🔮 เสริมว่า “ดังนั้นเราเลือกได้แหละ” 

ถ้าเพื่อน ๆ กำลังเผชิญกับอารมณ์ที่เปลี่ยนเเปลงเล็กน้อย (Mood Swing) ในช่วงนี้ ลองนัดคุยกับคนที่เพื่อนๆ ที่เราไว้ใจ หรือถ้าไม่อยากให้คนใกล้ตัวรู้สึกหนักตามไปด้วย ลองหาคนอื่นหรือสิ่งอื่นที่อยู่นอกวงโคจรของเราในการปลดปล่อยก็ได้ 

เเต่ถ้าปัญหาเริ่มบานปลายจนกระทบชีวิตประจำวัน เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกหม่นหมองและจมดิ่งไปกับความเศร้านั้น ก็อาจเริ่มเป็นสัญญาณว่า เราควรเริ่มปรึกษาจิตเเพทย์ เพื่อร่วมหาทางออกไปพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ

ท้ายที่สุดแล้วหากเพื่อนๆ คนไหนรู้สึกอัดอั้นตันใจ มองหาทางออกไม่เจอ อูก้าพร้อมอยู่ตรงนี้เสมอ เพื่อช่วยคลี่คลายปมปัญหาที่ค้างคาในใจ พร้อมรับฟัง และทำความเข้าใจความรู้สึกของเพื่อน ๆ ทุกคนนะ

สนใจปรึกษานักจิตวิทยาจากทางบ้าน

ดาวน์โหลดเลย:

https://ooca.page.link/ZHMD

หรือติดตามสิทธิพิเศษมากมายที่เราคัดมาให้ทุกคนเลือกสรร

แอดเลย Line Official:

https://lin.ee/6bnyEvy

อ้างอิง

https://www.idiva.com/health-wellness/mental-health/how-tarot-card-reading-and-mental-health-are-connected/18025989

https://voicetv.co.th/read/INxD79HhO

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง
#mentalhealth #selflove #tarotreading #SelfCare
 #OOCAask #oocadiscussion #ที่พึ่งทางใจ #ดูดวง #วิตกกังวลล่วงหน้า

Read More

#OOCAKnowledge ซึมเศร้าหลังเที่ยวจบมีจริง

ทำความรู้จักกับ Post-vacation blue ที่สายเที่ยวชิลแค่ไหนก็ซึมเศร้าได้เหมือนกัน

.

กลับมาทำงานได้ไม่กี่วัน ความรู้สึกเศร้าๆ ซึมๆ ก็ก่อตัวขึ้นในใจใครหลายคนเพราะตอนเที่ยวมันแสนจะสนุกและสบาย แค่ปล่อยตัวและใจไปกับบรรยากาศดีๆ แต่พอกลับมาสู่โลกความเป็นจริงที่ต้องนั่งทำงานก็เล่นเอารู้สึกแย่เหมือนกันนะ

.

Post-vacation blue คือชื่อเรียกกลุ่มอาการซึมเศร้า วิตกกังวลหรือขาดแรงจูงใจที่จะทำงานหลังจากผ่านวันหยุดพักผ่อนและเป็นอาการระยะสั้นๆ ไม่เกิน 3 อาทิตย์ก็จะรู้สึกดีขึ้น

.

เบื้องหลังของความรู้สึกเหล่านี้มาจากการปรับตัวของร่างกายที่ดึงพลังงานภายในเพื่อรับมือสถานการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เมื่อต้องกลับมาอยู่สถานการณ์เดิมๆ ร่างกายก็ปรับตัวไม่ทันซะแล้ว หรือบ้างก็พูดถึงปรากฏการณ์ The Contrast Effect ที่เกิดจากเราเปรียบเทียบในใจว่าการได้เที่ยวมันดีกว่าการนั่งทำงานทำให้กลายเป็นกับดักทางความคิดที่เมื่อเรากลับไปใช้ชีวิตเดิมๆ ก็รู้สึกห่อเหี่ยวขึ้นมาตามที่คิดไว้ทันที

.

ไม่ว่าจะถูกอธิบายด้วยแนวคิดแบบใด แต่ความเศร้าและเบื่อหน่ายที่เรารู้สึกเป็นเรื่องจริงเสมอ วันนี้อูก้าขอยกเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยเยียวยาหัวใจหลังวันหยุดยาวให้กลับมาสดชื่นได้อีกครั้ง

.

1.เปลี่ยนความทรงจำให้จับต้องได้

  1. แทนที่จะให้ประสบการณ์ของการไปเที่ยวเป็นเพียงความทรงจำดีๆ ในหัวใจ เปลี่ยนให้มันเกิดขึ้นจริง เอาสิ่งที่ได้จากมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันไปเลย เช่น ลงเรียนภาษาของประเทศที่เราไปมา หรือลองทำอาหารที่เราประทับใจจากทริปในครั้งนี้

2.ตัวจริงยังไปไม่ได้ ส่งใจไปก่อนละกัน

  1. ถึงตัวเราจะไม่สามารถหนีความจริงที่ว่าเราต้องทำงาน แต่เราสามารถส่งความคิดและใจให้จินตนาการถึงความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับจากการเดินทางในครั้งนี้ ลองนึกว่าภาพตอนที่เราได้เห็นวิวสวยๆ อาหารน่ากิน เพียงเท่านี้ก็ปลุกหัวใจที่กำลังเซ็งให้ตื่นได้อีกครั้ง

3.มองคนรอบตัว

  1. ความรู้สึกเศร้าที่ตีตื้นอาจทำให้เราเลือกที่จะตีตัวออกห่างจากคนอื่น ลองหันมาโฟกัสคนที่เรารัก พูดคุยหรือชื่นชมในสิ่งที่พวกเขาทำ เพราะการเห็นคุณค่ากันและกันจะตามมาด้วยความรู้สึกดีๆ เหมือนที่เราได้เจอในระหว่างการเดินทางนั้นแหละ

.

อูก้าเชื่อว่างานเลี้ยงไม่ได้มีวันเดียวฉันใด วันหยุดก็ไม่ได้มีแค่นี้ฉันนั้น ยังมีวันหยุดอื่นๆ ที่ให้เพื่อนๆ ได้เตรียมตัววางแผนและตั้งตารอคอยเหมือนกัน แต่ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าความเศร้าที่มีไม่หายไปไหนสักที การต่อสู้เพียงลำพังอาจเป็นเรื่องยาก ลองหาเพื่อนที่ไว้ใจอย่างอูก้า เพื่อเล่าทุกความรู้สึก คลายความซึมได้เลยนะ

อ้างอิง

Spiegel, J. (2010, March 15). Post-vacation blues. Psychology Today. Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3KJVgd8

รู้จักอาการ Post-Vacation Blues เมื่อหยุดยาวฉันสุขล้นปรี่ และเศร้า หลังวันหยุดพักผ่อน มีอาการ วิธีการรักษาอย่างไร. (2022, January 7). กรมสุขภาพจิต, Retrieved April 13, 2022, from https://bit.ly/3uGEHcm

Read More

ถ้ารับฟังเพื่อนที่เป็นซึมเศร้า แล้วเราจะเป็นไปด้วยไหม?

โรคซึมเศร้าคือหนึ่งในปัญหาสุขภาพใจที่คนจำนวนมากกำลังเผชิญอยู่ เพื่อน ๆ เองก็อาจจะมีคนใกล้ชิดหรือเพื่อนสนิทที่กำลังต่อสู้กับโรคนี้อยู่เช่นกัน ปัจจุบันการตระหนักถึงปัญหาและความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ากระจายออกไปอย่างกว้างขวาง เราจึงมักจะคุ้นเคยกับวิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นอย่างดี แต่แม้เราจะเข้าใจอาการของเพื่อนมากแค่ไหน หลายครั้งก็รู้สึกว่าใจของเราเริ่มจะรับต่อไปไม่ไหวแล้วเช่นกัน ยิ่งในสภาพสังคมที่มีแต่พลังงานลบรอบด้าน ยิ่งทำให้หวั่นใจว่าเราเองจะเป็นโรคซึมเศร้าไปด้วยหรือเปล่า ?

ที่เป็นอยู่คืออะไร ใช่โรคซึมเศร้าไหมนะ?

คนส่วนมากมักจะสับสนระหว่างความรู้สึกเศร้ากับโรคซึมเศร้า เส้นแบ่งที่สำคัญของสองสิ่งนี้คือระยะเวลาของความเศร้าและผลกระทบกับชีวิตประจำวัน ใครที่รู้สึกซึมเศร้ามากกว่า “สองสัปดาห์ติดต่อกัน” ให้ลองสังเกตตนเองมากขึ้นกว่าเดิมอีกสักหน่อยว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราต่างไปจากเดิมไหม ทานเยอะเกินไปหรือไม่ อยากอาหารหรือเปล่า มีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากกว่าปกติหรือไม่

หากคำตอบคือไม่ใช่ บางทีเราต้องการใครสักคนมาคอยรับฟัง การพูดคุยกับนักจิตวิทยาก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หากตอบว่าใช่ ก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไรถ้าจะลองปรึกษาจิตแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียดอีกครั้ง

อาการของโรคซึมเศร้า ที่ทำให้เราเฉาตามไปด้วย

คนที่มีเพื่อนสนิทหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้าอาจจะเคยรู้สึกเช่นเดียวกัน ทั้งที่รู้ว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ทำไมเราถึงรู้สึกว่าจะเป็นซึมเศร้าไปด้วยทุกครั้งที่รับฟังเพื่อนของเรา คำตอบคือเป็นเพราะเราหวังดียังไงล่ะ

ในฐานะเพื่อนที่หวังดี เรามักจะรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของเราที่จะ “ช่วยรักษา” เพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้าให้เขา “หาย” จากความรู้สึกแย่ ๆ ที่คอยกัดกินหัวใจของพวกเขาอยู่ แต่เจ้าโรคซึมเศร้านี้ก็มักจะพาเพื่อนรักให้กลับไปติดอยู่ในวังวนของความรู้สึกนึกคิดแง่ลบอยู่บ่อย ๆ เราจึงมักจะเผชิญกับสถานการณ์ที่เพื่อนมาระบายเรื่องเดิมที่เคยเข้าใจให้ฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แรงกดดันจากความคาดหวังว่าตนเองจะต้องช่วยเพื่อนจากโรคซึมเศร้าตัวร้าย ทำให้เรารู้สึกล้มเหลวเมื่อเพื่อนรักกลับมาสู่วังวนซึมเศร้าอีกครั้ง จนเผลอคิดไปว่า “ถ้าฉันเป็นกำลังใจให้เขาได้จริง เขาคงไม่กลับมาซึมเศร้าอีกครั้งหรอก” และแล้วความคิดดังกล่าวก็เข้าโจมตีทำให้คุณรู้สึกยอมแพ้และถอยห่างออกจากความสัมพันธ์กับเพื่อนที่คุณรัก

อีกหนึ่งลักษณะของโรคซึมเศร้าที่ทำให้เรารู้สึกหม่นตามไปด้วยคือพฤติกรรมการผลักไสของเพื่อนที่มักจะเอาแต่ถอยห่างยามที่เราต้องการเป็นพลังให้ ทำให้เรารู้สึกว่าเข้าหาเพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ยาก เพื่อนอาจจะไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือจากเรา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมผลักไสเหล่านั้นเกิดมาจากเจ้าโรคซึมเศร้าที่คอยเล่นตลก ย้ำเตือนให้เพื่อนของเรารู้สึกว่ากำลังรบกวนเราอยู่ หรือแม้กระทั่งทำให้เพื่อนที่เรารักรู้สึกว่าตนเองด้อยค่าเกินกว่าจะมีมิตรภาพหรือได้รับการช่วยเหลือ

วิธีรับมือกับเพื่อนซึมเศร้า แบบที่เราจะไม่หม่นตาม

แม้หลายครั้งการกระทำของเพื่อนจะแสดงออกในทางผลักไสหรือถอยห่าง แต่เชื่อเถอะว่าภายในใจพวกเขาต้องการคนอยู่เคียงข้างมากเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการได้ เรียกได้ว่าการผลักไสหรือถอยห่างก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการขอความช่วยเหลือของเพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้านั่นเอง เพราะฉะนั้นยิ่งเพื่อนเราผลักไสมากเท่าไร ก็หมายความว่าพวกเขาต้องการคนคอยอยู่ข้าง ๆ มากเท่านั้น

อยู่ข้างหมายถึงอะไร ? เพื่อนที่กำลังซึมเศร้าไม่ได้ต้องการคำแนะนำหรือคำตอบของชีวิต ด้วยเหตุนี้เองหลายครั้งเราจะเจอกับสถานการณ์ที่ว่า ไม่ว่าเราจะให้คำแนะนำเรื่องนี้ไปกี่ครั้ง พวกเขาก็ยังจะกลับมาโศกเศร้ากับมันเหมือนเดิม จนทำให้เราเผลอคิดไปว่าพวกเขาไม่ได้กำลังพยายามที่จะหลุดออกจากวังวนนี้อยู่ แต่นั่นไม่ใช่เพราะว่าเพื่อนของเราไม่ได้สนใจคำพูดของเรา เพียงแต่ในภาวะซึมเศร้า ความต้องการเพียงหนึ่งเดียวของพวกเขาคือพื้นที่ให้ได้ปล่อยก้อนความรู้สึกที่ไม่น่าอภิรมย์นี้ออกไปจากอกที่อึดอัดเหมือนกำลังจะแตกออก

เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือที่ดีที่สุดสำหรับเพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้าคือการรับฟังความรู้สึกของพวกเขาโดยไม่ต้องแสดงความคิดเห็น ไม่ต้องพูดขัดหรือให้คำแนะนำอะไร เพียงแค่ฟังและคอยถามความรู้สึกของพวกเขา คอยย้ำเตือนให้เพื่อนของเรารับรู้ว่าตัวตนของพวกเขาก็สำคัญกับเราเช่นกัน

“เธอเหนื่อยไหม ?”

“มีอะไรที่เราจะทำให้เธอได้บ้างไหม ?”

“เธอสำคัญกับเรานะ ถ้ามีอะไรที่เราให้เธอทำได้ก็บอกเราได้เสมอ”

การสังเกตพฤติกรรมของเขาเป็นประจำ หรือการถามอย่างตรงไปตรงมาว่าพวกเขาเริ่มรู้สึกแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไรจะทำให้เราเข้าใจวังวนภาวะซึมเศร้าของพวกเขามากขึ้น นอกจากนี้การเป็นกำลังใจให้เขาเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือโน้มน้าวให้เพื่อนที่เราสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับจิตแพทย์ ก็เป็นการช่วยเหลือที่สำคัญอีกประการที่เราจะทำให้เพื่อนที่เรารักคลายความหนักอึ้งได้บ้าง เพราะ “โรคซึมเศร้ารักษาหายได้” เราจึงต้องคอยย้ำให้เพื่อนของเรารับรู้ความจริงข้อนี้เพื่อมีกำลังใจในการรับการรักษาอย่างถูกวิธี

ข้อสำคัญที่สุดเราต้องจำให้ขึ้นใจเมื่อมีเพื่อนเป็นโรคซึมเศร้าคือ “ตัวตนของคุณมีค่ากับเพื่อนมากกว่าที่คิด” คนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้ต้องการให้เราเข้าใจความรู้สึกหรือเจ็บปวดเช่นเดียวกับสิ่งที่เขากำลังเผชิญ เพื่อนเราไม่ได้อยากให้ความซึมเศร้าลากคุณลงไปพร้อมกับพวกเขาแต่อย่างใด เขาต้องการแค่ความเห็นอกเห็นใจ เพียงแค่มีคนรับรู้ว่าพวกเขากำลังรู้สึกแย่ เพียงแค่นี้ก็มีค่ามากพอสำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าแล้ว

เพราะเราเองก็สำคัญกับเพื่อนเช่นกัน เพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้าของเราจึงไม่โกรธและยินดีหากเราจะถอยออกสักนิดเพื่อดูแลใจของตนเองก่อน เราไม่ได้กำลังหักหลังหรือทิ้งเพื่อนแต่อย่างใด พร้อมเมื่อไรค่อยกลับไปเป็นที่พึ่งให้พวกเขาอีกครั้ง ทุกคนพร้อมจะเข้าใจเสมอ เมื่อใดที่เรารู้สึกว่าเริ่มจะหลงทางหรือไม่เป็นตัวของตัวเอง หรือรู้สึกว่าความหม่นหมองเริ่มคลืบคลานเข้ามาหา ไม่เป็นไรเลยที่เราจะกลับมาอยู่กับตัวเองสักหน่อย และเมื่อเรากลับมาตั้งตัวได้อีกครั้ง เมื่อนั้นเราจะกลายเป็นที่พึ่งที่มั่นคงให้กับเพื่อนของเราได้อย่างแน่นอน

แด่เพื่อนผู้แสนดีและคอยเป็นที่พึ่งให้คนอื่นเสมอมา อย่าลืมว่าทุกคนย่อมมีช่วงเวลาที่ต้องการพึ่งพาหรือซบบ่าใครสักคนเสมอ ขณะที่คุณกำลังเป็นห่วงคนอื่น ระลึกไว้เสมอว่ายังมีเราที่แคร์คุณอยู่เช่นกัน เมื่อใดที่คุณอ่อนล้าจากการเป็นที่พึ่ง อูก้ายังอยู่ตรงนี้และพร้อมจะเป็นเพื่อน เป็นที่พึ่งให้คุณเอนกายพิงพักผ่อนเสมอ ไม่ว่าเมื่อไรก็ติดต่อมาได้เสมอนะ 😊

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/c6HE
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิง

Psycom: https://bit.ly/3xtKvVB

Helpguide: https://bit.ly/3dWM6eP

MetroUK: https://bit.ly/3jTnlnz

Mind: https://bit.ly/2Uz8V1d

Read More

เครียดแค่ไหนถึงต้องพบจิตแพทย์?

เคยไหมที่ดูหนังฝรั่งทีไรแล้วต้องได้เห็นฉากที่ตัวละครพูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยาในเรื่องกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนัดพบ คุยประจำทั่วไปในแต่ละเดือน บางครั้งก็คุยเดี่ยว บางทีก็คุยกลุ่ม หรือจับคู่สามีภรรยามานั่งคุยกันก็มี แม้แต่เด็ก ๆ เองก็เปิดใจเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่ตัวละครเหล่านี้กลับดูไม่ได้มีเรื่องเครียดอะไร

อย่างนี้แปลว่าไม่จำเป็นต้องมีเรื่องเครียดก็พบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้เหรอ ?

อูก้าขอตอบเลยว่า ได้ ! เพราะการพบจิตแพทย์นั้นจริง ๆ แล้วก็เหมือนเราไปตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป ไม่ต้องรอให้เครียด ไม่ต้องรอให้เกิดโรค ไม่ต้องรอให้เจอปัญหาใด ๆ เราก็สามารถไปหาหมอเพื่อพูดคุยปรึกษา เช็คสุขภาพใจกันสักนิดได้ทันที ซึ่งจริง ๆ แล้วในแต่ละประเทศเอง การไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยานั้นเป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ เพราะนอกจากจะได้เป็นการพูดคุยปรึกษาปัญหาคาใจของแต่ละคนแล้ว จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยายังสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ชีวิตคู่ ปัญหาความสัมพันธ์ การเรียน การงาน ปรึกษาก่อนแต่งงาน หรือแม้แต่การปรึกษาเรื่องพัฒนาการเด็กก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นหากไม่สบายใจ แทนที่จะไปหาหมอดู ลองเปลี่ยนมาเป็นหาหมอ “ใจ” อย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา อาจจะช่วยให้คุณค้นหาต้นตอของปัญหาเจอก็ได้นะ 🙂

แล้วอย่างนี้ถ้าเราอยากลองตรวจสุขภาพใจของเราดูบ้างการไปหาจิตแพทย์จะตอบโจทย์ไหมนะ? แล้วจะเริ่มจากที่ไหนดี? คำถามนี้ก็ไม่อยาก เพราะถ้าคุณไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรละก็ #อูก้ามีทางออก มาให้จ้า

เพราะที่อูก้า เราเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับดูแลจิตใจที่เป็นมากกว่าแค่การรับฟัง ที่อูก้านั้นคุณไม่จำเป็นที่จะต้องขับรถวนหาที่จอดจนเหนื่อย หรือต้องลางานมานั่งรอคิวคุยกับจิตแพทย์ทั้งวัน ทั้งยังไม่ต้องไปเสาะหาแหล่งปรึกษาให้ยุ่งยาก เพราะที่นี่เรามีบริการพร้อม ทั้งนักจิตวิทยาที่จะคอยให้คำปรึกษาและบำบัดใจ จนไปถึงจิตแพทย์ที่มีประสบการณ์ดูแลทุกคำปรึกษา อยากจะทักมาคุยเมื่อไหร่ ที่ไหน กับใคร ก็เลือกเองได้ง่าย ๆ สะดวกสบายด้วยปลายนิ้ว

❤️ อยากทำแบบทดสอบวัดความเครียดดูก่อนก็ย่อมได้

❤️ หากอยากนัดปรึกษาเมื่อไหร่ ก็สามารถนัดหมายได้ทุกเมื่อ

❤️ ใช้เพียงแค่โทรศัพท์มือถือและสัญญาณอินเทอร์เน็ต ก็คุยได้แล้ว ไม่ต้องไปไหนไกล

❤️ ทุกอย่างที่คุยกันรับรองว่าเป็นความลับ ถ้าไม่สะดวกใจให้ใครเห็น ก็คุยกันในสถานที่ ๆ คุณสบายใจได้เลย

เพราะการพูดคุยปรึกษาปัญหาใจ ไม่จำเป็นต้องรอให้เครียด

หากเรามีแพทย์ไว้ดูแลร่างกาย “หัวใจ” เอง ก็ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลเช่นเดียวกัน อย่างที่ใครหลายคนเคยกล่าวไว้ว่า “ป่วยกายยังไม่เท่ากับป่วยใจ” ดังนั้นหากเรายังมีโอกาสดูแลใจของเราให้ดี อย่ามัวรอช้า อย่ากลัวที่จะก้าวเข้ามาปรึกษากับจิตแพทย์ของเราได้เสมอ พลังใจมีเต็มร้อย จะให้เจอกับอุปสรรคอะไรในชีวิตก็ไม่ท้อถอยไปง่าย ๆ

“ไม่ต้องเครียดก็ทักหาเราได้ ให้อูก้าได้มีโอกาสดูแลจิตใจและเป็นเพื่อนช่วยวางแผนชีวิตเคียงข้างคุณ❤️”

———————————–

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/hmstblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca..

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More
กักตัว โควิด10 ซึมเศร้า

“กักตัว” แต่ “ป่วยใจ” ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์

ต้องกักตัวอยู่บ้านเพราะโควิดใช่ว่าจะสบาย บางคนมองว่าอยู่บ้านก็ดีไม่ติดอะไร แรก ๆ ก็สนุกดีมีหลายอย่างให้ได้ลอง ไม่ว่าจะทำขนม ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ แต่งบ้าน ฯลฯ แต่รู้ไหมว่าการเปลี่ยนชีวิตประจำวันของเราแบบฉับพลันในหลาย ๆ ด้าน อาจทำให้เรารู้สึกหดหู่ กังวล และซึมเศร้าอยู่ลึก ๆ ก็เป็นได้ ไม่ว่าจะการเรียน การทำงาน ไปจนถึงรูปแบบการใช้ชีวิต กิน เที่ยว นอน ที่ต้องปรับตาม บวกกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในอนาคต อาจกระทบความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ นำไปสู่ความคิดที่ว่า ‘อะไรจะเกิดก็เกิด ฉันเหนื่อยแล้ว’

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2019 ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราไปอย่างสิ้นเชิงนับเป็นเวลาปีกว่าแล้วที่เราต่อสู้กับสถานการณ์โควิด เนื่องจากเป็นวิกฤติที่สังคมไม่เคยมีมาก่อน จึงมีมาตรการต่าง ๆ มากมาย แต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดในการปฏิบัติตัวและเว้นระยะห่างทางสังคมที่ไม่เหมือนกัน สร้างความห่างเหินของผู้คน กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและการดำรงชีวิตก็ได้รับผลกระทบในทางลบ

ปรับตัวใหม่ แต่ใจเป็นทุกข์

วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ถูกนำมาปรับใช้ในช่วงโควิด ทั้งการทำงานที่บ้าน (work from home) การใช้เทคโนโลยีการสังสรรค์ ล้วนเปลี่ยนรูปแบบแทบทั้งหมด แรกเริ่มเราต่างพยายามปรับตัวตามสถานการณ์เพราะความตระหนักถึงวิกฤติร่วมกัน แม้จะขัดแย้งในใจบ้าง แต่เราก็ได้แต่บอกตัวเองว่าต้องเอาชนะโควิดได้ แต่เมื่อการแพร่ระบาดของโควิดกินเวลานานเกือบสองปีและยังคงดำเนินต่อไป หลายคนก็อดไม่ได้ที่จะท้อแท้ใจกับแผนการในชีวิต กิจกรรมสำคัญที่ถูกยกเลิกซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ขณะที่ทั้งโลกกำลังเผชิญกับความเครียด ซึมเศร้าร่วมกันในการกักตัวเป็นระยะเวลานาน บางคนอาจไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทุกข์ใจจากสถานการณ์โควิด เผลอคิดไปว่าคุ้นชินกับมันแล้ว แต่กลับรู้สึกปวดเมื่อยเนื้อตัวตามร่างกาย ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ ไปจนถึงต่อสู้กับสุขภาพใจที่ไม่คงที่ เมื่อปี 2020 สำนักงานบริการสุขภาพ (NHS) ในประเทศอังกฤษได้ทำรายงานด้านสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 5-16 ปีกว่า 3,000 คน โดยเปรียบเทียบในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่าปีที่ผ่านมาเด็กมีปัญหาสุขภาพจิตคิดเป็นอัตราส่วน 1 : 6  คน จากเมื่อสามปีก่อนที่เป็น 1 : 9 พวกเขาบอกว่ารู้สึกเครียดจากบรรยากาศในครอบครัว เรื่องรายได้ ที่สำคัญคือรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และกังวลเพราะสถานการณ์โควิดด้วย

มีผลสำรวจพบว่าสถานการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อประเทศยากจนมากที่สุด และยิ่งทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มีมาอยู่ก่อนนั้นเลวร้ายลงไปอีก โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ไม่มั่นคง กลุ่มบัณฑิตจบใหม่หรือวัยทำงานตอนต้น (Gen Z) นอกจากนี้เด็กเล็กไปจนถึงวัยมัธยมก็ได้รับความเครียดเช่นกัน เพราะการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนและการจำกัดพื้นที่ในการเล่น องค์กรการกุศลเพื่อเด็กในสหราชอาณาจักร (NSPCC) เปิดเผยข้อมูลว่าสายด่วนสำหรับเด็กที่ต้องการคำปรึกษามีความต้องการเพิ่มขึ้นเกิน 10% ตั้งแต่การกระบาดครั้งใหญ่ของโควิด เหตุผลหลักคือ เพราะรู้สึกโดดเดี่ยว ไร้ที่พึ่งทางใจ มีการให้บริการเพิ่มมากขึ้น 10% ตั้งแต่การระบาดใหญ่เริ่มต้น อาสาสมัครให้คำปรึกษาได้นิยามว่า “โควิดส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง”

‘โคโรนา บลู’ เมื่อเราหดหู่ ซึมเศร้ากับชีวิตที่ไม่คุ้นเคย

เมื่อทุกคนในสังคมพร่ำบ่นเรื่องความเครียดที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด ความรู้สึกหดหู่ โกรธ เหนื่อยหลายได้กลายเป็นการแผ่ขยายของปัญหาสุขภาพจิต โรคความวิตกกังวลและซึมเศร้าที่เกิดจากความคับข้องใจเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกวัน ในเรื่องนี้ศาสตราจารย์ Jung Young-Chul จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ที่ Yonsei University ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ได้อธิบายถึงวิธีรับมือกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในยุคโควิดว่า “จากการระบาดของโควิด 19 ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน มีคนบ่นว่าวิตกกังวล ซึมเศร้าและทำอะไรไม่ถูกเป็นจำนวนมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากความเครียด จนเกิดคำใหม่ที่เรียกว่า ‘โคโรนาบลู’ (Corona Blue) หรือ ภาวะซึมเศร้าและหดหู่เนื่องจากการแยกตัวและความห่างเหินทางสังคม แต่กลับกันมันอาจจะแปลกกว่านี้ ถ้าผู้คนไม่รู้สึกหดหู่ใจในช่วงสถานการณ์ผิดปกติที่ดำเนินต่อเนื่องมากหลายเดือน”

ศาสตราจารย์จุงอธิบายว่า Corona Blue เป็น “ปฏิกิริยาตอบสนองปกติต่อสถานการณ์ที่ผิดปกติ”

ถ้าอย่างนั้นเราจะเข้าใจปฏิกิริยาตอบสนองต่อโคโรนา บลูที่ผิดปกตินี้ได้อย่างไร?

เพราะมนุษย์มักประเมินสถานการณ์ด้วยสัญชาตญาณมากกว่าการคิดวิเคราะห์อารมณ์ของตนเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งสัญชาตญาณนี่แหละที่มีผลต่อการตัดสินใจ จนบางครั้งเรามองข้ามความรู้สึกลึก ๆ ในใจเรา ดังนั้นเราควรเริ่มจากทำความเข้าใจกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า หากมีสาเหตุมาจากสถานการณ์โควิดที่ยืดเยื้อมานานจะแก้ไขอย่างไร

“ความวิตกกังวลเป็นอารมณ์ที่เราพบในสถานการณ์ที่เราไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ได้ เป็นสัญญาณที่ทำให้เราตื่นตัวและจดจ่ออยู่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในทางกลับกันเรารู้สึกหดหู่เมื่อถูกบังคับให้ยอมรับผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อยอมรับความเป็นจริงไม่ได้ เราอาจประสบกับภาวะซึมเศร้า” ศาสตราจารย์จุงอธิบายเพิ่มเติมว่าเป็นธรรมดาที่เราจะพยายามต่อสู้ในช่วงแรกของปัญหา แต่เมื่ออยากจะยอมแพ้หลังจากพยายามหลายครั้งเราอาจรู้สึกเศร้าซึม ซึ่งความรู้สึกหดหู่นี้เองกำลังบอกเราว่าอย่าใช้พลังงานไปเปล่า ๆ เพราะอยากเอาชนะสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น โควิด

ปากบอกไหว แต่กายใจไม่โอเค

สัญญาณของภาวะซึมเศร้าสามารถรับรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ส่งมาจากร่างกายของเราที่เตือนให้รออย่างอดทนและรักษาพลังงานของเราไว้ในขณะที่ก็ต้องทำใจยอมรับสถานการณ์โควิด ณ ปัจจุบันไปด้วย อาจเป็นเรื่องยากแต่การรับมือกับอารมณ์ซึมเศร้าและความเบื่อหน่ายช่วงกักตัวคือการทำให้ร่างกายแข็งแรง ปรับความคิด 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ด้วยการ

🥰 มองโลกในแง่บวก
😡 ขจัดความโกรธ
🧐 วางแผนชีวิตใหม่
🤗 ยืดหยุ่นเข้าไว้

เรามักตั้งคำถามบ่อย ๆ ว่า “ฉันต้องอยู่แบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน ?” แต่ใครเลยจะรู้คำตอบ ความรู้สึกสิ้นหวัง สูญเสียความมั่นใจนั้นบั่นทอนกำลังใจของเราอยู่ทุกวัน แต่หากเราไม่รับฟังสัญญาณความเครียดก็คงอดไม่ได้ที่จะรู้สึกหมดหนทาง นำไปสู่พฤติกรรมทางลบ เช่น หงุดหงิดง่าย ทะเลาะกัน ละเมิดข้อปฏิบัติ ไม่กักตัว หรือแสดงพฤติกรรมผิดปกติเพื่อระบายความเครียด ในบางกรณีอาจรุนแรงและเป็นอันตราย ควรได้รับการดูแลจากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่คนอื่นอาจแสดงออกเป็นภาวะซึมเศร้าหดหู่มากกว่า ซึ่งตรงกันข้ามกับความฉุนเฉียว

ป้องกันภาวะซึมเศร้าจากโควิด

ตามที่ศาสตราจารย์จุงกล่าวว่ามีประมาณ 20% ของผู้ที่เป็นโรคโคโรนาบลูที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าในระดับที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาล โดยเริ่มจากอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเดือน หรือน้ำหนักลดลงมากกะทันหัน ที่สำคัญผู้คนประเมิน ‘ความยากลำบาก’ จากสถานการณ์โควิดจากมุมมองส่วนตัวมากเกินไป หรือให้คุณค่ากับมันมากจนกระทบกับใจ กลายเป็นบิดเบือนความเป็นจริง การรับรู้ ความเข้าใจไปโดยปริยาย ทั้งเริ่มคิดแง่ลบเกี่ยวกับตัวเอง ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสามารถ มองตัวเองไร้ค่า เช่น ‘ฉันทำอะไรไม่ได้เลย ฉันไม่ดีพอ’ หรือ ‘ที่ธุรกิจไปไม่รอด เพราะฉันไม่มีความสามารถ ทำให้ลูกน้องเดือดร้อน’ ซึ่งอาจลุกลามไปถึงความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่

จากการสำรวจในประเทศญี่ปุ่นช่วงปลายปี 2020 เทียบกับปีก่อนหน้าพบว่า อัตราการฆ่าตัวตายในหมู่ผู้หญิงญี่ปุ่นสูงถึง 897 ราย หรือเพิ่มขึ้นถึง 70% ศาสตราจารย์ มิชิโก อูเอดะ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิจัยชั้นนำกล่าวว่า ไม่เคยเห็นตัวเลขที่น่าตกใจขนาดนี้มาก่อน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการแพร่ระบาดของโควิดที่กระทบอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่เป็นงานที่ผู้หญิงทำ เช่น การท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจอาหาร เป็นต้น ทำให้มั่นคงน้อยกว่า ประกอบกับผู้หญิงยุคใหม่เลือกที่จะเป็นโสดหรือแต่งงานช้าลง จึงรู้สึกกดดันสูงต่อความรับผิดชอบที่มีต่อตัวเอง

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราโทษตัวเองในสถานการณ์โควิด ทั้งที่จริง ๆ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครควบคุมได้และไม่ใช่ความผิดของเราเลยแม้แต่น้อย ความคิดนำไปสู่ความเครียดและวิตกกังวลซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อโควิดไม่หายไป ความทุกข์ใจก็ยังอยู่ ดังนั้นเราต้องเริ่มหา ‘มุมมองใหม่’ ดึงตัวเองออกจากการอะไรก็ตามที่ดึงเราเข้าสู่สิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพจิต ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

✍🏻 ลองจดบันทึก เป็นการ ‘ทิ้ง’ สิ่งที่รบกวนสมองและระบายความเครียด
⛅ ตากแดดสักหน่อย แสงแดดทุกวันเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดช่วยจัดการกับภาวะซึมเศร้า
😎 ออกไปข้างนอกกันเถอะ เลือกสถานที่ที่คนไม่พลุกพล่าน ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้นเล็กน้อย ลองออกไปดื่มด่ำกับบรรยากาศผ่อนคลาย
🎁 ซื้อ ‘ความสุข’ ให้รางวัลตัวเองเล็กน้อยในการซื้อของที่อยากได้ในงบประมาณที่พอดี
💪🏻 ขยับร่างกายในบ้าน ออกกำลังเบา ๆ ที่ทำได้เอง หรือใช้อุปกรณ์ที่สะดวกสำหรับออกกำลังในบ้าน
🎮 เทคโนโลยีช่วยได้ แอปพลิเคชันหรือเกมในปัจจุบันช่วยให้เราผ่อนคลายได้หลายวิธีเลย
👭🏻 อย่าลืมโลกภายนอก ติดต่อกับเพื่อนและคนรอบตัวเป็นระยะ ช่วยให้ไม่ห่างเหิน
🛀🏻 อาบน้ำทุกวัน ไม่น่าเชื่อว่าการอาบน้ำเป็นประจำและกลิ่นหอม ๆ ของสบู่ ช่วยลดความเศร้าหมองในใจได้
💤 นอนหลับให้เพียงพอ นอนนานไม่สำคัญเท่าหลับได้ดี เพราะการหลับไม่สนิทกระทบสุขภาพกว่าที่คิด (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://blog.ooca.co/2021/04/21/insomnia/)

#อูก้ามีทางออก #จิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ช่วยได้อย่างไร ?

เพราะสุขภาพใจไม่ควรถูกมองข้าม ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง วิตกกังวล หรือซึมเศร้าที่รบกวนเราจำเป็นต้องได้รับการดูแล อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ไว้คอยดูแลใจทุกคน โดยเรามีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 90 ท่าน ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี ทุกคนสามารถพูดคุยปรึกษาได้ผ่านรูปแบบของวิดีโอคอล สะดวก ไม่ต้องเดินทาง และมีความเป็นส่วนตัวสูง อีกทั้งเรายังสามารถเลือกจิตแพทย์และเลือกช่วงเวลาที่เราต้องการได้เลยไม่ต้องรอคิว ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้ายินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจ ให้เราได้ร่วมเดินทางและช่วยรับฟังความทุกข์ของคุณ

จากช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่โควิดเริ่มแพร่ระบาด สถิติการเข้ารับคำปรึกษาด้านสุขภาพใจเพิ่มมากขึ้น อาจดูเหมือนน่ากังวล แต่แท้จริงแล้วถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะนั่นหมายถึงมีการตระหนักรู้ถึงความเครียดที่เกิดขึ้นและเรากำลังพยายามจะแก้ไขมัน เพราะอาการซึมเศร้าอาจนำไปสู่ความคิดแง่ร้าย แต่ถ้าเราตระหนักว่าโควิดเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับทุกคนและรับรู้ความซึมเศร้าที่เกิดขึ้น

แทนที่จะอารมณ์เสียหรือกล่าวโทษตัวเอง สุดท้ายแม้จะไม่พอใจแต่เราก็จะยอมรับความจริงได้ เมื่อรู้ตัวว่าความเครียดและอาการซึมเศร้าเกิดกับเราแล้ว การรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร หากแต่เป็นทางออกในการจัดการชุดความคิดแง่ลบให้เรา โดยการวางแผนและดำเนินกิจวัตรประจำวันที่เป็นวิถีใหม่ เน้นที่ความยืดหยุ่นเป็นหลักคือสามารถปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/quarantineblog
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca.

.#OOCAitsOK#WeWillListen#เรื่องของใจให้เรารับฟัง#แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา#mentalhealth#สุขภาพจิต#เครียด#ซึมเศร้า#พบจิตแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก

Yonsei University : https://bit.ly/3dKlnm8

Healthline : https://bit.ly/3esAY8X

BBC Thai : https://bbc.in/3nnZjkn , https://bbc.in/3eu9gbU

Read More
นอนไม่หลับ เหนื่อย พบจิตแพทย์

“เหนื่อย” แต่ “นอนไม่หลับ” ปรึกษาจิตแพทย์

เบื่อไหมที่นอนกลิ้งไปมา แต่หลับไม่ลง ?

รู้สึกเหนื่อยแทบตาย แต่นอนไม่หลับแทบทุกคืน

ตื่นมาไม่สดชื่น ง่วงซึมทั้งวัน

ใคร ๆ ก็มีอาการเหนื่อยล้า โดยเฉพาะคนที่ใช้แรงกายเยอะ แต่รู้ไหม คำว่า ‘เหนื่อย’ มีความหมายซ่อนอยู่

เมื่อเราเริ่มเหนื่อยล้าหรือพักผ่อนอาจจะไม่เพียงพอ นี่เป็นสัญญาณที่อันตรายกว่าที่คิด เพราะเรากำลังมองข้ามสาเหตุที่แท้จริงของความเหนื่อยอยู่ แล้วกายและใจของเราก็ยิ่งเหนื่อยล้า หม่นหมองเมื่อเราอยากผ่อนคลาย แต่ไม่สามารถทำได้ อย่างการนอนหลับให้สนิท ทำให้ตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น เหมือนยังไม่ได้พักผ่อน

ข้อมูลจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยอธิบายว่า ปัญหาการนอนหลับนั้นเป็นเรื่องที่พบบ่อยมาก สูงถึง 30 % ของประชากรทั่วไป ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติ เลยไม่คิดว่าต้องรักษาหรือพบแพทย์ แต่การนอนไม่หลับสามารถทำให้เรารู้สึกหดหู่ กังวลและเครียด จึงไม่แปลกใจเลยว่าการนอนไม่หลับนั้นส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพกายและใจ

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ

  • ชีวิตประจำวัน ในแง่ของพฤติกรรมที่เราทำทุก ๆ วันส่งผลให้นอนไม่หลับโดยไม่รู้ตัว หรืออาจจะรู้แต่ก็ปรับได้ยาก เช่น ติดกาแฟ แอลกอฮอล์ การกิน หรือติดโซเชียลมากเกินไป เป็นต้น เพราะบางอย่างทำให้สมองทำงานหนักจนยากที่จะหยุดได้ แม้แต่ตอนกลางคืนที่ควรพักผ่อน
  • สภาพแวดล้อม หลายคนอาจจะมีปัญหาเมื่อต้องนอนแปลกที่ หรือเป็นคนหลับยาก ฉะนั้น อากาศ อุณหภูมิ แสง เสียง ขนาดของห้อง หรือแม้แต่ที่นอนก็ทำให้นอนไม่หลับได้ อาจต้องใส่ใจเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมให้คุ้นชินและสบายมากที่สุด
  • ปัญหาสุขภาพ เมื่อร่างกายมีบางอย่างผิดปกติ เราอาจรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว หายใจไม่สะดวก มวนท้อง ฯลฯ อาการเจ็บปวดที่รู้สึกได้นี้ อาจรบกวนการนอนของเรา ทำให้หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่ได้
  • ด้านจิตใจ ต้องบอกว่าสำคัญมาก ความเหนื่อย ความเครียด วิตกกังวล หรือพลังงานลบต่าง ๆ ที่เข้ามารบกวนจิตใจ ทำให้เราหยุดคิดมากไม่ได้ ยิ่งเราคิดวนเวียนในช่วงกลางคืนอาจจะทำให้เรารู้สึกไร้ค่าท้อแท้ หดหู่ ซึมเศร้าได้ เมื่อสะสมนานไปอาจมีผลต่อสุขภาพจิตของเราได้

ทำไมควรพบจิตแพทย์เมื่อนอนไม่หลับ ?

อย่างที่กล่าวไปว่าอาการนอนไม่หลับ เหนื่อยล้า หากสะสมเป็นเวลานานย่อมส่งผลต่อร่างกาย อารมณ์ ความคิดและสภาพจิตใจ หลายคนที่นอนไม่หลับ จริง ๆ แล้วทั้งเหนื่อย อ่อนล้า ง่วงนอน แต่เมื่อถึงเวลาเข้านอนกลับหยุดความคิดตัวเองไม่ได้ บางครั้งคล้ายกับว่าเรานอนหลับแต่ไม่รู้ทำไมตื่นมาก็ยังเพลียอยู่ตลอดเวลา ปัญหาการนอนหลับ เช่น การนอนไม่หลับเป็นอาการที่พบบ่อยของการเจ็บป่วยทางจิตหลายอย่าง ไม่ว่าจะโรควิตกกังวลภาวะซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้วและโรคสมาธิสั้น (ADHD)

ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนไม่หลับและความเจ็บป่วยทางจิตเป็นแบบสองทิศทาง (bidirectional) ราว ๆ 50% ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนอนไม่หลับมีปัญหาสุขภาพจิต ในขณะที่ผู้ใหญ่ 90% ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีปัญหาการนอนหลับ ที่สำคัญพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติยังทำให้เราฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยทางจิตได้ช้าลง ตัวอย่างเช่นผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าที่ยังคงมีอาการนอนไม่หลับมักไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาในการนอนหลับด้วย

ลองสังเกตตัวเองว่าเรามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ ?

  • นอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ นานกว่า 1 เดือน
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด อ่อนไหว
  • รู้สึกเครียด กดดัน
  • รบกวนประสิทธิภาพในการทำงาน สมาธิและความจำ
  • เหนื่อยล้า หมดพลัง

แม้จะมีเพียงไม่กี่ข้อข้างต้น คุณก็สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้แล้ว โดยสามารถเล่าถึงกิจวัตรรวมถึงนิสัยการกิน การนอนเพื่อประกอบการประเมินของจิตแพทย์ได้ ในบางกรณีอาจต้องทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ เช่น ความเครียด มีปัญหาสุขภาพส่วนตัว ระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

เพราะอาการนอนไม่หลับ รุนแรงกว่าที่คิด

เมื่อเราเหนื่อยล้า เรียนหรือทำงานมาทั้งวัน ช่วงเวลานอนหลับคือพลังแห่งการฟื้นฟู ซ่อมแซมให้ร่างกายได้กลับมาพร้อมใช้งานต่อ แต่หากเรานอนหลับไม่สนิท นอนน้อย หรือนอนไม่หลับเลย สิ่งที่ตามมานอกจากอ่อนเพลีย คือปัญหาสุขภาพกาย มีงานวิจัยมากมายกล่าวว่า อาการนอนไม่หลับ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิดสูง ปัญหาหลอดเลือดหัวใจ และระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมถอยได้ นอกจากนี้ความเครียดหรือความรู้สึกทรมานจากการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นก็อาจทำให้เรารู้สึกหมกมุ่น รู้สึกไม่ดีกับตัวเองได้

ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการนอนไม่หลับทำให้คนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางใจได้อย่างไร อย่างไรก็ตามการวิจัยชี้ให้เห็นว่าปัญหาการนอนหลับอาจส่งผลต่อความสามารถในการประมวลอารมณ์เชิงลบของเรา ในการศึกษาหนึ่งพบว่าคนที่อดนอนแสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อภาพที่ไม่พึงประสงค์มากกว่าภาพที่น่าพึงพอใจหรือภาพที่มีเนื้อหาทางอารมณ์ที่เป็นกลาง ในขณะที่คนทั่วไปจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ไม่แตกต่างกันกับรูปภาพทุกประเภท

นอกจากนี้การศึกษาอื่น จากการสแกนสมองพบว่าผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับแสดงให้เห็นว่ามีการทำงานในส่วนประมวลผลอารมณ์มากขึ้นในขณะที่พยายามลดปฏิกิริยาเชิงลบต่อรูปภาพ นั่นแสดงให้เห็นว่าการนอนไม่หลับทำให้ยากที่จะตอบสนองอย่างเหมาะสมกับอารมณ์เชิงลบ สิ่งนี้อาจทำให้ปัญหาการนอนหลับแย่ลงและทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า หลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าความเจ็บป่วยทางจิตอาจเกิดจากปัญหาการทำงานภายในสมองที่ทับซ้อนกับนาฬิการ่างกายหรือระบบการนอนหลับ

เหนื่อยล้าทางใจ…อย่าปล่อยไว้นาน

เครียดสะสมระหว่างวัน แต่นอนไม่หลับตอนกลางคืน มาสำรวจใจตัวเองกันสักนิดว่าสาเหตุของอาการเหนื่อยล้านั้น เป็นเรื่องทางกายหรือทางใจ หากเราเครียดสะสมก็จะเป็นต้องแก้ไข

🧐 เราเหนื่อยเพราะอะไร ?
😔 คาดหวังมากเกินไปหรือไม่ ?
😓 เก็บเรื่องไม่สำคัญมาใส่ใจหรือเปล่า ?
🚧 ปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองหรือไม่ ?

เมื่อถามตัวเองแล้วให้เราสำรวจหาทางออก ชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียแต่ละทาง แล้วลงมือแก้ไขไปทีละเล็กละน้อย ไม่ต้องกดดันตัวเองมากจนเกินไป กลับมาดูแลใจเราเอง ไม่จำเป็นว่าเราต้องมีโรคทางจิตเวชหรืออาการป่วยร้ายแรง แต่เหนื่อยล้า นอนไม่หลับก็สามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้เช่นกัน

นอนไม่หลับเกี่ยวกับโรคทางใจได้หรือเปล่า ?

สำหรับผู้ที่ป่วยใจหรือกำลังเผชิญความเจ็บป่วยทางจิตอยู่ หากรักษาอย่างถูกวิธีก็มีแนวโน้มที่ปัญหาการนอนหลับจะดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีความเครียดหรือความเจ็บป่วยทางใจเพียงเล็กน้อยอยู่แล้ว การวิจัยกำลังมุ่งเน้นไปที่ว่าการรักษาอาการนอนไม่หลับจะช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตหรือไม่รวมทั้งภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล

มีงานวิจัยที่แสดงว่าทั้งการใช้ยาและการรักษาภาวะนอนไม่หลับด้วยการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา จะทำให้อาการของสุขภาพใจดีขึ้น ดังนั้นความเจ็บป่วยทางจิตส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้โดยการรักษาอาการนอนไม่หลับ การทดลองวิจัยล่าสุดของออสเตรเลียกับผู้เข้าร่วม 1,149 คนชี้ให้เห็นว่าการรักษาอาการนอนไม่หลับช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

แต่การนอนไม่หลับมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังหากยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงหรือรักษาที่ปัญหาต้นทาง ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า 51% ของบุคคลที่รักษาภาวะซึมเศร้าได้สำเร็จหรือมีการรับประทานยายังคงประสบกับอาการนอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณมีอาการนอนไม่หลับให้ลองปรึกษาแพทย์ หากได้การประเมินเบื้องต้นอาจมีการแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา พวกเขาสามารถประเมินได้ว่าอาการนอนไม่หลับและปัญหาสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกันอย่างไรในแต่ละกรณีและปรับการรักษาให้เหมาะสม

จากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำเทคนิคที่ช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้น (sleep hygiene) ได้แก่

  1. ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน วันละประมาณ 30 นาที หรืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ทั้งนี้ไม่ควรออกกำลังกายใกล้เวลานอนมากเกินไป ควรเว้นช่วงเพื่อให้ไม่ร่างกายตื่นตัว
  2. พยายามอย่างีบหลับตอนกลางวัน จริงอยู่ที่งานวิจัยบอกว่าการงีบเล็กน้อยช่วยชาร์จพลังได้ แต่หากเรารู้ว่าเราหลับยากในตอนกลางคืนให้พยายามอดทนแล้วให้ถึงเวลาเข้านอนจะดีกว่า
  3. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและงดสูบบุหรี่ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ทุกชนิด นอกจากทำให้การนอนหลังแย่ลงยังส่งผลต่อระบบหายใจได้ด้วย
  4. การทานอาหาร อย่าให้ท้องอิ่มเกินไป ประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอนไม่ควรทานอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มื้อเย็นอาจจะทานอะไรเบา ๆ หรือจิบนมอุ่น ๆ ซักแก้ว
  5. ลดกิจกรรมที่กระตุ้นจิตใจ การคิดเรื่องงาน คุยเรื่องเครียด ดูหนังผี หรือเล่นเกมตื่นเต้น ล้วนทำให้เราตื่นตัว อยากคิด อยากทำต่อ เมื่อเราไม่รู้สึกผ่อนคลายก็นอนหลับได้ไม่สนิท
  6. ลดหรืองดการเล่นโซเชียลมีเดีย หรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รบกวนคลื่นสมอง เช่น มือถือ ไอแพด คอมพิวเตอร์ ฯลฯ การเสพข่าวในอินเทอร์เน็ตก็ทำให้สมองและอารมณ์ถูกกระตุ้นเช่นกัน ควรพักสิ่งที่กล่าวมาก่อนเวลานอน 1-2 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นได้ก็จะดีมาก เมื่ออยู่บนที่นอนควรหยุดทำนิสัยที่เคยชิน เช่น เลื่อนโทรศัพท์ เช็คข่าว หรือคิดเรื่อยเปื่อย
  7. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม กำจัดทุกอย่างที่รบกวนการนอนและทำให้ห้องนอนเป็นพื้นที่สบายใจที่สุด อย่างที่บอกว่าหมอน ผ้าห่ม แสง สี เสียง อุณหภูมิ ปรับให้พอดีกับรสนิยมของคุณมากที่สุด รวมถึงท่านอนก็เช่นกัน
  8. หากพยายามแล้วแต่นอนไม่หลับ อย่าโมโหหรือฝืนตัวเอง ลองทำกิจกรรมเบา ๆ อย่างอ่านหนังสือ ฟังเพลง asmr ถ้าเริ่มง่วงค่อยกลับไปนอนต่อ
  9. ตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน ไม่ว่าจะนอนมากหรือน้อย ควรฝึกให้ร่างกายและสมองได้เรียนรู้ แล้วเราจะเข้าสู่สมดุลของวงจรการหลับ-ตื่นได้ง่ายขึ้น ทำต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อผลลัพธ์ในระยะยาว

#อูก้ามีทางออก

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ไว้คอยดูแลใจทุกคน โดยเรามีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 90 ท่าน ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี ทุกคนสามารถพูดคุยปรึกษาได้ผ่านรูปแบบของวิดีโอคอล สะดวก ไม่ต้องเดินทาง และมีความเป็นส่วนตัวสูง อีกทั้งเรายังสามารถเลือกจิตแพทย์และเลือกช่วงเวลาที่เราต้องการได้เลยไม่ต้องรอคิว ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้ายินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจ ให้เราได้ร่วมเดินทางและช่วยรับฟังความทุกข์ของคุณ เรามีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น

🤯 ความเครียดในองค์กร
😔 ภาวะหมดไฟ เหนื่อยล้า
🤦🏻 ปัญหาครอบครัว
😤 ปัญหาด้านอารมณ์
💔 ความรัก ความสัมพันธ์
👶 พัฒนาการ การเลี้ยงดูบุตร
😰 ซึมเศร้า โรคทางจิตเวช
🤢 พฤติกรรมการกิน การนอนหลับ ยาเสพติด
🗯️ ฯลฯ

การปรับพฤติกรรมช่วยให้อาการนอนไม่หลับดีขึ้น โดยต้องมีวินัยและทำต่อเนื่องนานเกิน 1 เดือน และจะยั่งยืนถ้าทำได้เกิน 6 เดือน ซึ่งจะช่วยให้เราหลับได้ด้วยตัวเอง บางรายแพทย์อาจแนะนำให้ทานยาช่วย แต่หากเป็นไปได้อยากให้หลีกเลี่ยงการพึ่งยานอนหลับติดต่อกันนาน ๆ ให้เน้นที่การปรับกิจวัตรและวงจรชีวิตให้ทำงานสอดคล้องกัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดีในระยะยาว เพราะปัญหาใจเป็นเรื่องสำคัญ อย่าปล่อยให้อาการเหนื่อยล้า นอนไม่หลับกลายเป็นสุขภาพที่กดทับใจ หากไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้า


ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/insomniabd
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ Ooca ได้ที่ >> https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://theconversation.com/explainer-whats-the-link-between-insomnia-and-mental-illness-49597

https://www.psychiatrictimes.com/view/does-insomnia-predict-onset-mental-illness

https://www.sleepfoundation.org/mental-health

https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-สุขภาพจิต/อยากนอน-แต่นอนไม่หลับ-ใช่อาการป่วยทางจิตหรือไม่-

http://www.honghongworld.com/post06067371003649

https://www.facebook.com/ThaiPsychiatricAssociation/posts/729393903831295/

Read More
วิธี ปลอบ ใจ คนเป็นโรค ซึม เศร้า

10 สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยฮีลใจคนอื่นได้

10 สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยฮีลใจคนอื่นได้

คนส่วนใหญ่อาจรู้สึกว่าการเยียวยา (heal) จิตใจหรือการทำให้คนอื่นรู้สึกดีขึ้นเป็นเรื่องยาก บางทีก็ไม่รู้จะพูดอะไร รู้สึกว่าตัวเองปลอบใจคนอื่นไม่เก่ง อูก้าขอแนะนำ ’10 สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่จะช่วยฮีลใจคนอื่นได้’ เพื่อให้เพื่อนๆนำไปใช้ รับรองว่าสกิลการฮีลคนอื่นของเราจะอัพโดยไม่รู้ตัว

1. ฟังให้ถึงใจ

การรับฟังไม่ใช่แค่ได้ยินผ่านหูแล้วตัดสินจากสิ่งที่เรารู้สึก แต่เป็นการมองเข้าไปในใจว่าอีกฝ่ายกำลังรู้สึกอะไรอยู่ แล้วทำความเข้าใจมุมมองของเขา เหมือนประโยคที่บอกว่า “put yourself in others’ shoes” แค่คนหนึ่งคนที่รับฟังอย่างไม่มีเงื่อนไขก็สามารถฮีลใจได้แล้ว

2. ส่งต่อ positive energy

Nicole Burgess นักจิตวิทยาและไลฟ์โค้ช กล่าวว่า “ความสุขเป็น ‘โรคติดต่อ’ ดังนั้นแสงสว่างภายใน ตัวคุณจะเปล่งประกายสู่ภายนอก คนอื่นจะรู้สึกและสัมผัสได้” ใครๆ ก็ชอบอยู่ใกล้คนที่มองโลกในแง่ดี คิดและพูดแต่สิ่งดีๆ รอยยิ้มที่ส่งให้กันช่วยเติมเต็มวันดีๆ ได้

3. แชร์เพลง ภาพยนตร์ หนังสือ

สิ่งเหล่านี้มักจะมี message บางอย่างที่อยากจะถ่ายทอดและช่วยปลดปล่อยอารมณ์เราให้ไหลไปกับเรื่องราว การฮัมเพลงโปรด การดูหนังแล้วหัวเราะให้สุดเสียงหรือร้องไห้ดังๆ รวมถึงการอยู่เงียบๆ แล้วดำดิ่งไปกับหนังสือดีๆ สักเล่ม อาจเป็นสิ่งที่พาตัวคุณออกจากโลกแห่งชีวิตจริงสักครู่หนึ่ง ทำให้คุณรู้สึกเบาลงกับสถานการณ์ปัจจุบัน

4. Colour Healing

รู้ไหมว่าสีมีผลต่ออารมณ์และสุขภาพของเราและที่สำคัญสีช่วยฮีลใจเราได้ โดยเฉพาะสีฟ้าและสีเขียวจะช่วยให้เรารู้สึกสงบและเย็นลง จะเห็นว่าสีของธรรมชาติคือความสบายตาสบายใจ พากันออกทริปไปเจอประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ใจได้รีเฟรชบ้าง รับวิตามินดีจากแสงแดดที่จะช่วยเติมเต็มพลัง ซึ่งสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาอาจฮีลใจได้ดีกว่าคำพูดของเราเสียอีก

5. ตะลุยร้านอร่อย

สำหรับคนที่กำลังเศร้า ความอยากอาหารอาจจะลดลง การทานอาหารถูกปากช่วยเพิ่มสารแห่งความสุขได้ ลองชวนเขาไปร้านใหม่ๆ บรรยากาศดีๆ ปัจจุบันมีคาเฟ่น่ารักๆ มากมาย แถมรีวิวร้านอาหารให้ตามอีกเพียบ การฮีลใจด้วยอาหารไม่เพียงอิ่มท้องแต่เราจะอิ่มใจด้วย แต่ถ้าใช้วิธีนี้บ่อยๆ ระวังน้ำหนักขึ้นด้วยนะ

6. สร้างเซอร์ไพรส์เล็กๆ

ความตื่นเต้นช่วยให้ใจที่เหี่ยวเฉาจะพองโตขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะหรือจัด event ใหญ่โต แต่ทำสิ่งที่อีกฝ่ายไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น นัดปาร์ตี้เพื่อนสมัยเรียน ให้เสื้อผ้าชุดใหม่ หรือพาเที่ยว one-day trip เป็นต้น การสร้างบรรยากาศช่วยดึงความสนใจและพาตัวเองออกจาก routine เดิมๆ

7. ชื่นชมข้อดี

ผู้ใหญ่มักจะชมเวลาที่เด็กๆทำตัวน่ารัก แต่ทำไมเราถึงอายที่จะชมคนอื่นเมื่อโตขึ้น ใครบอกว่าผู้ใหญ่ไม่ต้องการคำชมหรือกำลังใจดีๆ ถ้าเรามองเห็นข้อดีที่ตัวเขาเองมองไม่เห็นก็ช่วยย้ำเตือนสักหน่อย เพราะคำชมเป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้ใจเราในยามที่เหนื่อยล้าให้ต่อสู้กับวันต่อไป

8. Skinship สักหน่อย

การสัมผัสเป็นสิ่งที่ทำให้อบอุ่นใจและช่วยโอบกอดความรู้สึก การตบบ่า จับมือ หรือกอด ไม่ใช่เพียงการสัมผัสทางร่างกายแต่ยังรู้สึกได้ถึงความรักความใส่ใจ ซึ่งเรามักรู้สึกเป็นที่รักเมื่อถูกสัมผัสด้วยความอ่อนโยน การแสดงความรักอาจจะเขินๆ ในตอนแรกแต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าแน่นอน

9. นั่งอยู่ข้างๆ เสมอ

อาจจะฟังดูแปลกที่การนั่งเฉยๆ จะช่วยทำให้คนอื่นรู้สึกดียังไง แถมยังเป็นวิธีที่ได้ผลมากๆ อีกด้วย ในเวลาที่เรามีแต่ความคิดแย่ๆ เต็มหัวไปหมด เราไม่ได้ต้องการคำสั่งสอนหรือเสียงบ่นจากคนอื่น เพียงแต่อยากให้มีใครสักคนที่นั่งอยู่ข้างๆ คอยนั่งมองเราทำตัวงี่เง่าไร้เหตุผลโดยไม่ตัดสิน ถ้าเราเป็นคนนั้นให้เขาได้ก็จะดีมากเลยแหละ

10. take your time

คนส่วนใหญ่ที่รู้สึกอึดอัดข้างในเป็นเพราะเขาไม่มีพื้นที่ในการเยียวยาตัวเอง ไม่มีเวลาได้ทบทวนหรือปลดปล่อยอารมณ์ลบๆ ออกมา ขอเพียงพื้นที่ปลอดภัยให้เขาได้เป็นตัวเอง หายใจเต็มปอด การถอยออกมายืนมองอยู่ห่างๆ และแสดงน้ำใจยามเขาร้องขอ เป็นอีกวิธีที่ฮีลคนอื่นได้อย่างที่คนมักจะบอกว่า “เวลาจะเยียวยาทุกอย่างเอง”

ลองมองไปรอบๆตัวแล้วช่วยฮีลคนรอบข้างด้วยสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้กันนะคะ อูก้าขอเป็นกำลังใจให้ทุกปัญหาและยินดีจะรับฟัง สามารถติดตามเข้ามาพูดคุยกับพี่ๆนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของอูก้าได้เลยนะคะ

อ้างอิงจาก

https://www.bustle.com/p/13-tried-true-ways-to-give-off-more-positive-energy-that-people-can-actually-sense-74267

https://www.mydomaine.com/heartbroken-friend

https://www.charmsoflight.com/colour-healing

Read More
จิตวิทยา การเป็นตัวของตัวเอง

Compromise อย่างไร ไม่ให้สูญเสียตัวตน

เราได้ยินคำว่า ประนีประนอม (Compromise) บ่อยๆ ในการพูดถึง relationship ซึ่งมักเป็นการสื่อความหมายในเชิงบวกว่าเราจะ “พบกันตรงกลาง” หรือคุยกันเพื่อตัดสินใจอะไรบางอย่างด้วยสันติวิธี แต่หากเราเลือกที่จะประนีประนอมอยู่ตลอด เราจะสูญเสียตัวตน (Self) และความเชื่อ (Belief) ของเราหรือเปล่า?

.

การประนีประนอมนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดเสมอไป แม้ว่าจะเป็นวิธีที่ช่วยขจัดความขัดแย้งแต่ก็อาจก่อให้เกิด “ความเครียด” ได้ บางครั้งเราทำเหมือนว่ากำลังประนีประนอม แต่จริงๆ แล้ว เราแค่พยายามจะ “ตัดจบ” ทั้งที่ในใจยังขุ่นเคืองและปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข

.

ยกตัวอย่างเช่นเราอยากไปเที่ยวทะเล แต่แฟนอยากไปเที่ยวภูเขา เมื่อถกเถียงจนได้ข้อสรุป สุดท้ายฝ่ายหนึ่งจะได้ในสิ่งที่ต้องการโดยการ “ประนีประนอม” แต่อีกฝ่ายกลับรู้สึก “พ่ายแพ้” ทั้งที่เริ่มแรกทั้งคู่เลือกที่จะประนีประนอมกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ แต่ครั้งต่อไปพวกเขาก็จะมีปัญหากับสถานการณ์เดิมๆ และแอบจำไว้ในใจว่าครั้งต่อไปอีกฝ่ายต้องยอมเราบ้าง

.

สิ่งที่ขาดหายไปจากเรื่องนี้คือ “การสื่อสาร” เรามัวแต่จะโฟกัสที่สถานการณ์ตรงหน้า จนลืมใส่ใจความรู้สึกของกันและกัน การประนีประนอมจึงมีอะไรมากกว่าแค่การพูดคุย ก่อนอื่นเราต้องมองให้ทะลุปรุโปร่งว่าตัวตนของทั้งเราและเขาเป็นใคร ต้องการอะไร จะดีลกับอีกฝ่ายอย่างไรจึงจะเหมาะสม แล้วตัดสินใจด้วยความยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย

.

แม้ว่าจะมีเรื่องของขอบเขต การแสดงออก ความชอบธรรมและการให้เกียรติคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าเป็นคนที่เรารักและเคารพมากๆ เราจะพบว่าตัวเองเต็มใจที่จะ “ประนีประนอม” โดยไม่รู้สึกถึงขัดแย้งในใจเลย

.

แต่สิ่งที่ยากคือ การประนีประนอมกับตัวเอง เพราะเราต่างมีสิ่งที่ต้องการ มีสิ่งที่เจ็บปวดและมีความจริงรออยู่ข้างหน้า เราอาจยอมให้ตัวเองทำบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ควรทำเพราะการประนีประนอมนี่แหละ

.

บางคนเลือกที่จะละทิ้งตัวเองและใช้ชีวิตตามความต้องการของคนรอบข้าง พวกเขาจะเสียเปรียบมากถ้าคนอื่น take advantage จากจุดนี้และลำเส้นจนไม่เหลือพื้นที่ของตัวเองอีกเลย อาจพูดได้ว่าการประนีประนอมมากเกินไปอาจทำให้เราไม่เคารพตัวเองมากพอ ดังนั้นเมื่อเรายอมประนีประนอมด้วยก็ได้แต่หวังว่าอีกฝ่ายจะไม่เรียกร้องอะไรมากเกินไปจนทำให้เราลำบากใจ

.

เรากำลังซ่อนความต้องการของเราอยู่หรือเปล่า? ถ้าเราเดินต่อไป เราจะหลงในเส้นทางที่คนอื่นสร้างหรือไม่? เมื่อไรก็ตามที่เราเผลอให้การประนีประนอมกับ “คนอื่น” รุกล้ำเข้ามาถึง “ตัวเอง” เราต้องมีสติ รู้ตัวและเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด

.

แทนที่จะเก็บกดความต้องการไว้ เราควรพูดออกมาอย่างเปิดเผยมากกว่าเพื่อป้องกันปัญหาที่ยืดเยื้อ นี่ไม่ใช่การชวนทะเลาะแต่การรับฟังซึ่งกันและกันเป็นหนทางที่ชัดเจนที่สุดในการแก้ไขปัญหา

.

ในความเป็นจริงการ “พบกันตรงกลาง” หรือ “ยอมถอยคนละก้าว” เป็นวิธีที่ค่อนข้างได้ผลและดีกว่าไม่เกิดการตัดสินใจอะไรเลย อย่างไรก็ตาม การประนีประนอมไม่ควรเข้ามาแทนที่ “ความคิด” และ “ความรู้สึก” ของทั้งสองฝ่าย แต่การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและให้เกียรติกันต่างหากที่เป็นความยุติธรรมที่แท้จริง

.

ถ้าใครกำลังลำบากใจกับสถานการณ์เช่นนี้อยู่ อูก้ายินดีจะรับฟังและเข้าใจคุณเสมอ สามารถพูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ได้ เราพร้อมจะอยู่ตรงนั้นเพื่อคุณนะคะ

อ้างอิงจาก

https://www.relate.org.uk/relationship-help/help-relationships/communication/how-compromise-without-feeling-resentful

และขอบคุณบทความจาก Maxie Mccoy ในหัวข้อ “How to compromise without losing yourself”

Read More
  • 1
  • 2