“ซึมเศร้า” ควรเป็นก่อนแล้วค่อยไปหาหมอ หรือควรไปหาหมอก่อนจะได้ไม่เป็น?

ในวิกฤติเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงในประเทศไทยจากสถานการณ์โควิด-19 สร้างความไม่แน่นอนให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ทางการเงิน ทางเศรษฐกิจมหภาค และทางการเมือง ฯลฯ ไหนจะมีข่าวด้านลบเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนและสื่อโซเชี่ยลมีเดียที่สร้างความหดหู่ให้กับเราไม่เว้นแต่ละวันจนหลายคนวิตกกังวลหรือกลัวว่า หากเจอแต่เรื่องเศร้าแบบนี้ทุกวันแล้วเราจะเป็นซึมเศร้าไหม ถ้าไม่ได้เป็นซึมเศร้าแต่อยากปรึกษาจิตแพทย์ป้องกันไว้ก่อนจะได้ไหม หรือว่าต้องรอให้เป็นซึมเศร้าก่อนถึงต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ได้

เมื่อรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมรอบข้างของเรามีแต่พลังงานด้านลบ และเต็มไปด้วยความหดหู่หรือความโศกเศร้ามากเกินไปจนเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้า เราควรรีบไปปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจป้องกันไว้จะดีที่สุด เพราะซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาโดยที่ไม่รู้ตัว หากเราปรึกษาจิตแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ช่วยให้ความเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้าลดลงได้

ไม่ต้องรอให้เป็นซึมเศร้าก่อนก็ปรึกษาจิตแพทย์ได้เพื่อสุขภาพใจที่ดีของเรา

เป็นเรื่องปกติถ้าเราไปหาหมอก่อนที่จะเป็นซึมเศร้า เพราะขนาดการดูแลสุขภาพกายเองก็ยังมีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อดูว่าร่างกายมีจุดบกพร่องตรงจุดไหน การดูแลสุขภาพใจก็ไม่ต่างกัน หากเราได้เข้ารับการประเมินสุขภาพใจ และได้เทคนิคในการจัดการกับภาวะทางอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่าใจของเรายังรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ไหวอยู่ไหม หรือมีภาวะทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ลำบากขึ้นหรือไม่นั่นเอง

เพราะเรื่องของสุขภาพใจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเหมือนกับสุขภาพกาย ถึงแม้ว่าเราคิดว่าตัวเองไม่เป็นอะไร แต่เมื่อเราต้องเจอกับภาระงานที่หนักอึ้งหรือปัญหาชีวิตมากมายที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดไม่หย่อนก็อาจนำไปสู่ภาวะทางอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว หากรู้สึกว่าพฤติกรรมของเราเปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น

🤒 ภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่ เช่น เครียดมากกว่าปกติ

🤒 ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ

🤒 ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ของตัวเองลดลงอย่างไม่มีเหตุผล

🤒 ไม่สามารถจัดการกับความสัมพันธ์ได้ หรือมีความขัดแย้งกับคนรอบข้างบ่อยขึ้น

เมื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากเกินไป การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้อาการหนักจนถึงขั้นป่วยเป็นโรคก็จะช่วยให้สามารถจัดการกับภาวะทางอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความกังวล หรือ ความเศร้าเองที่พอปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ก็อาจจะนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสุขภาพใจให้มีความสุขกับชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วย

เป็นซึมเศร้าแล้วก็ต้องรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้อาการหนักไปมากกว่านี้

แน่นอนว่าเมื่อรู้สึกเจ็บป่วยกายก็ต้องไปหาหมอเพื่อรักษาให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง ใจของเราก็เช่นกัน เมื่อเจ็บป่วยใจก็ต้องได้รับการรักษาจากหมอเพื่อให้ใจกลับมาเข้มแข็งได้เหมือนกับร่างกาย ถ้าหากเรารู้ตัวว่าการเจ็บป่วยที่เรากำลังเผชิญอยู่ส่งผลให้การใช้ชีวิตของเราลำบากมากขึ้นจนไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์และเข้ารับการรักษาสุขภาพใจทันที เพราะถ้าปล่อยให้ป่วยใจนานก็ยิ่งเยียวยาใจได้ยาก เราจึงต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้าไม่ให้เป็นหนักไปมากกว่านี้

อย่างไรก็ตาม การไปหาหมอหลังเป็นซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าเราละเลยกับการดูแลสุขภาพใจของตัวเองแต่อย่างใด บางครั้งเราต้องมีภาระทำงานที่ต้องจัดการค่อนข้างมากหรือยุ่งอยู่กับการใช้ชีวิตจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ซึ่งจุดนี้เองทำให้เราเกิดเครียดหรือวิตกกังวลจนไม่ทันได้สังเกตตัวเอง พอมารู้ตัวอีกทีก็ไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่เหมือนแต่ก่อนแล้ว เมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังเผชิญอยู่กับซึมเศร้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่าปล่อยให้อาการซึมเศร้าคุกคามจนเรื้อรัง แต่ควรรีบไปปรึกษาจิตแพทย์และเข้ารับการรักษาสุขภาพใจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือไปหาหมอก่อนก็ควรได้รับการปรึกษาจิตแพทย์ทั้งคู่

มันไม่มีผิดไม่มีถูกว่าควรเป็นซึมเศร้าก่อนถึงไปหาหมอ หรือควรไปหาหมอก่อนที่จะเป็นซึมเศร้า เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าเราเลือกแบบไหน แต่ถ้าปลายทางของเรา คือ การปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพใจแล้ว หากมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือในการเริ่มต้นดูแลสุขภาพใจของเราก็เป็นเรื่องง่ายที่จะจัดการกับปัญหาในชีวิตและภาวะซึมเศร้าที่รบกวนใจอยู่ตลอดเวลาออกไปได้ ถ้าเราตระหนักถึงความสำคัญของการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาให้มากขึ้น และคิดว่าเสมอการป่วยใจเป็นเรื่องปกติที่ควรจะได้รับการรักษาไม่ต่างกับป่วยกาย ก็ช่วยให้เราผ่านพ้นจากการเป็นซึมเศร้าและสามารถกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง

อย่าลืมว่า ‘ใจ’ ของเราเองควรได้รับการดูแลเหมือนกับร่างกายเสมอ หากคุณยังไม่รู้ว่าจะต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ ที่ไหนให้อูก้าเป็นตัวช่วยของคุณ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 90 ท่าน ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี รับรองได้ว่าสุขภาพใจของคุณได้รับการดูแลที่ดีอย่างแน่นอน 🥰💙

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/7erU
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

อ้างอิงข้อมูลจาก:

APA: https://bit.ly/3lgcHrV

verywellmind: https://bit.ly/2VpLDeA

HelpGuide: https://bit.ly/3BThh54

THE STANDARD: https://bit.ly/3BYF2Zy

THAI PUBLICA: https://bit.ly/37cblWQ

Read More

Remote Working ก็ต้องดูแลใจแบบ Home Caring กันไปเลย

จากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่รุนแรงขึ้นทุกที ธุรกิจมากมายปรับตัวหรือล้มเหลวในชั่วข้ามคืน ชีวิตการทำงานก็ไม่เคยเหมือนเดิม เราปรับความคิด ปรับการใช้ชีวิตและเรียนรู้มิติใหม่ของการทำงานที่ไม่ต้องเข้าไปนั่งยาว ๆ แปดชั่วโมงในออฟฟิศ จากสัปดาห์ก็นานเป็นเดือนเป็นปีกับการ Work from home หรือ Work from everywhere โดยที่ไม่รู้ว่าปลายทางเราจะลงตัวกับการทำงานรูปแบบไหนกันแน่


มีหลายสิ่งที่ผู้นำธุรกิจต้องพิจารณานอกเหนือไปจากเรื่องงาน หรือการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับการทำงานทางไกล ก็คือเรื่องส่วนตัวของและสภาพจิตใจของพนักงาน หลายคนมีความเครียดจากการอยู่บ้านนาน ๆ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ภาระที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบถึงนิสัย ทัศนคติ ไปจนถึงสุขภาพของพนักงาน ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าเราจะไม่กลับไปเป็น “ปกติ” เราจะกลับไปสู่ “ความปกติใหม่” (New Normal) แต่นั่นก็ไม่ได้ยืนยันว่าสุขภาพจิตของพนักงานจะโอเคกับเรื่องนี้


😥 สภาพจิตใจของพนักงานที่ถูกทำลาย
บางคนชอบการทำงานแบบ Remote Working ทั้งตื่นเต้นและรู้สึกสบายในช่วงแรกเริ่ม (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/36MUCcr ) แต่เพราะโควิดไม่ได้เบาบางลง การเสพข่าว การดูแลครอบครัว การทำงาน ไปจนถึงการอยู่กับความไม่มั่นคงปลอดภัยเป็นเวลานาน สิ่งที่ฝังอยู่ในความยากลำบากของการล็อกดาวน์ คือ ความอ่อนไหวของพนักงาน การเปลี่ยนผ่านจากที่ทำงานไปเป็นที่บ้านทำให้พนักงานต้องต่อสู้กับอุปสรรคทางอารมณ์ เพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้เจอหน้ากันอาจมีความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาก การติดต่อลูกค้าทำได้ยากขึ้น พนักงานต้องสร้างสายสัมพันธ์ในสังคมใหม่ ทั้งกับหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า แล้วยังต้องรับมือกับภาระจุกจิกที่บ้านในเวลางานด้วย


💞 ความเอาใจใส่ต้องเชื่อมต่อกับชีวิตประจำวันของพนักงาน
มีผลการสำรวจพนักงานยืนยันว่า สิ่งที่ยากสำหรับพวกเขาไม่ใช่การทำงานทางไกล แต่คือการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ในช่วงที่ยากลำบากแบบนี้ความเป็นผู้นำและการเอาใจใส่จากระยะไกลอาจทำได้ยาก ซึ่งถ้าดูตามความเป็นจริง ผู้นำมักคิดถึงแนวคิด WFH เพื่อให้องค์กรไปรอดและพนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นอันดับแรก ทำให้พนักงานเหมือนถูกบังคับให้ต้องค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการทำงานและการติดต่อกันตลอดเวลา
บางครั้งอาจลืมไปว่าพวกเขาไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอหรือไม่ได้รับการดูแลจิตใจที่เหมาะสมเท่าไรในสถานการณ์ที่ตึงเครียดเช่นนี้ การถามไถ่ว่าพวกเขาเป็นอย่างไรอาจไม่เพียงพอ องค์กรควรรับมือกับความเครียดสะสม อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวลและสุขภาพจิตที่เสื่อมถอยของพนักงานด้วย


🏡 นำการดูแลสุขภาพใจมาไว้ที่บ้าน

#อูก้ามีทางออก #ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

การเตรียมบริการดูแลสุขภาพใจให้พนักงานเป็นอีกสิ่งที่องค์กรสามารถสนับสนุนพนักงานได้ ความเครียด กังวล กดดัน ไปจนถึงซึมเศร้า เหนื่อยล้า หมดไฟ ทุกปัญหาใจสำหรับพนักงานในองค์กร อูก้า “แอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล” พร้อมดูแลพนักงานคนสำคัญของคุณ


แล้วเราจะดูแลสุขภาพใจที่บ้านได้ไหม ถ้าออกไปไหนไม่สะดวก ? บอกเลยว่าในยุคที่เราทั้ง WFH ทั้งต้อง Social Distancing ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินทาง เพราะสามารถ Home Caring ได้ด้วยอูก้า ! พนักงานจะอยู่ไกลแค่ไหน ? เหนื่อยเพราะอะไร ? บริการของเราก็รองรับให้คุณสามารถปรึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา จะ WFH หรือ Social Distancing อยู่ก็ทำได้ ไม่ต้องเดินทางมาปรึกษาถึงโรงพยาบาล เพราะจิตแพทย์และนักจิตวิทยาของอูก้ามากกว่า 90 ท่านก็สามารถเป็นเพื่อนคอยรับฟังคุณได้ การันตีความพึงพอใจจากพนักงานที่เคยดูแลใจกับอูก้า เพราะเรา
✅ ปรึกษาได้ทุกปัญหาในองค์กรหรือปัญหาส่วนตัว
✅ สะดวก ประหยัดเวลา ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง
✅ มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้
✅ ประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน
✅ มีระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล
✅ แพ็กเกจบริการหลากหลายที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับองค์กรของคุณ

การแยกตัวจากสังคมนาน ๆ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย อาจกระทบกับจิตใจพนักงานอย่างรุนแรง เป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้องทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่ได้ทำงานร่วมกับคุณ ไม่ว่าจะเรื่องรายได้ สิทธิประโยชน์ สวัสดิการหรือความเอาใจใส่ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานในตอนนี้


สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ซีอีโอและหัวหน้างานต้องตระหนักว่าเวลานี้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับพนักงาน เราจำเป็นต้องอดทนและเอาใจใส่พนักงานมากเป็นพิเศษ อย่าลืมให้เวลากับพนักงานในการปรับตัวและปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานหรือกฎใหม่ ๆ ที่องค์กรสร้างขึ้น ให้ข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นแก่พวกเขา ไม่ใช่แค่เพื่อความแข็งแรงทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความผ่อนคลายทางจิตใจด้วย 😊

เพราะสุขภาพจิตใจในวัยทำงานเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องดูแล อย่าลืมนึกถึงอูก้า เพื่อนรู้ใจเคียงข้างพนักงานคนสำคัญ 🙂

————————————————

เพราะพนักงานควรได้รับการ “ดูแลใจ” ไม่ต่างกัน
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/2JJd
🏙 ให้องค์กรของท่านมีบริการดูแลใจพนักงาน > https://www.ooca.co/corporate

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง


อ้างอิงจาก
Openlandscape : https://bit.ly/3kPshJ2
Forbes : https://bit.ly/3zGOCi8

Read More

แค่เป็น “ผู้หญิง” ก็ผิดแล้ว Femicide ฆาตกรรมที่เกิดจาก “เพศ” เป็นเหตุ

ความเท่าเทียมทางเพศถูกนำมาโต้แย้งบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง หลายคนรู้สึกว่าปัญหาการกดขี่ทางเพศไม่เคยหมดไป บ้างถูกบิดเบือนและนำเสนอในแง่โรแมนติก บ้างกลายเป็นตลกร้ายล้อเลียนกันในสังคม แม้จะมีการเรียกร้องและขับเคลื่อนไปทั่วทุกมุมโลก แต่ความรุนแรงทางเพศกลับกลายเป็นอคติที่หยั่งรากลึกในใจมนุษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า บางส่วนมองว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่คนบางกลุ่มเรียกร้องจนเกินพอดี

ใครจะรู้ว่าเพศโดยกำเนิดอย่างการเป็น “ชาย” หรือ “หญิง” ก็สามารถจุดชนวนความเกลียดชังในใจได้แล้ว

วันนี้เราอยากเล่าถึงที่มาที่ไปของ Femicide …การฆาตกรรมที่เกิดจาก “เพศ” เป็นเหตุ

มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยถูกกีดกันในแง่ของการใช้ชีวิตเนื่องจากเพศ ความรุนแรงต่อผู้หญิงประกอบด้วยการกระทำที่หลากหลาย ตั้งแต่การล่วงละเมิดทางวาจาและการล่วงละเมิดทางอารมณ์รูปแบบอื่น ๆ ไปจนถึงการล่วงละเมิดทางร่างกายหรือทางเพศในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงถูกฆาตกรรมเพียงเพราะพวกเขาเกิดเป็นผู้หญิง จึงเป็นที่มาของ “Femicide” นั่นเอง

Femicide เป็นการตอบสนองต่อความรู้สึกเกลียด ดูถูก ดูแคลนเพศหญิง โดยฆาตกรมักเป็นเพศชายที่เชื่อว่า “ผู้หญิงเป็นทรัพย์สินที่สามารถครอบครองได้” คำที่ปรากฏให้เห็นตลอดคือ ‘honour’ เมื่อได้แสดงอำนาจเหนือกว่า ทำให้ผู้หญิงอยู่ใต้บังคับบัญชาได้ก็รู้สึกภูมิใจ มีเกียรติ แรงจูงใจของ Femicide ต้องมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เชื่อมโยงกับเพศ หากเป็นการฆ่าตัวตายหรือถูกฆ่าโดยคนเพศเดียวกันไม่นับว่าเป็น Femicide

นอกจาก ‘วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่’ งานวิจัยกล่าวว่าอีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมในเรื่อง ‘สินสอดทองหมั้น’ ที่อินเดียมีผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ถูกฆ่าตายเพราะจำนวนสินสอดทองหมั้นไม่เพียงพอ ซึ่งมีจำนวนผู้หญิงที่เสียชีวิตมากถึง 7600 คนในปี 2549  ภายหลังคาดการณ์ว่าผู้หญิงที่แต่งงานใหม่มากถึง 25,000 คนถูกฆ่าหรือพิการในแต่ละปีเพราะสินสอดทองหมั้น นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงที่เสียชีวิตจากไฟไหม้มากถึง 163,000 รายเพราะความรุนแรงในครอบครัว

Femicide ส่วนใหญ่มาจากผู้หญิงที่ติดอยู่ในบ่วงของความสัมพันธ์ที่รุนแรง Toxic Relationship และกระทำโดยคนรักทั้งในอดีตและปัจจุบัน หรือแม้แต่การข่มเหงจากคนแปลกหน้าหรือคนรู้จัก ท้ายที่สุดพฤติกรรมทารุณทั้งหลายมักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ รูปแบบของการละเมิด เช่น การทำร้ายร่างกาย, ความรุนแรงในครอบครัว, การข่มขืน, ความรุนแรงทางจิตใจ, การขัดขวางอิสระของผู้หญิง, การค้าบริการทางเพศ, การทำให้เสียโฉม ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมี Non-intimate Femicide หรือ Femicide ที่เกิดจากคนที่ไม่สนิทสนม แต่ก็มีต้นตอมาจากเพศเช่นกัน ยกตัวอย่างการ Femicide จากข่าวดังที่ประเทศเกาหลีกรณีผู้ชายคนหนึ่งทะเลาะกับคนรักของตัวเอง เมื่อเห็นผู้หญิงแปลกหน้าเดินผ่านมาจึงเข้าไปทำร้ายเพื่อระบายอารมณ์ หรืออย่างในประเทศญี่ปุ่นที่ฆาตกรชายได้สัมภาษณ์ว่าแรงจูงใจในการฆ่าเหยื่อเป็นเพราะผู้หญิงคนนั้นดูมีความสุขมากเกินไป

นี่อาจเรียกได้ว่า “อาชญากรรมความเกลียดชังทางเพศ”

การยุติ Femicide มักถูกสั่นคลอนด้วยภาพมายาและกรอบความคิดที่เลวร้าย การสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงกฎหมายที่อนุญาตให้ก่ออาชญากรรมประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญ หลายประเทศหันมาปลุกจิตสำนึกในแง่ของอาชญากรรมทางเพศให้กับสาธารณชน ใช้การอ้างอิงเครื่องมือสิทธิมนุษยชนและการปกป้องสิทธิสตรี

แต่เรายังต้องการกฎหมายที่คุ้มครองได้จริง รวมถึงสิ่งที่จะช่วยยืนยันได้ว่า ‘honour’ นั้นไม่มีอยู่จริง เราควรช่วยกันสร้างความตระหนักรู้และตอบสนองที่เหมาะสมต่อความคิดที่บิดเบือนว่าเพศใดเพศหนึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาด เพราะไม่มีใครควรถูกทำร้ายหรือฆาตกรรมจากสถานะทางเพศเป็นเหตุ

ดร. เจน มังก์ตัน สมิธ จาก University of Gloucestershire ได้ศึกษาคดีฆาตกรรมผู้หญิงจำนวนมากในอังกฤษ ในการสังหาร 372 ครั้งมีจุดสังเกตที่เชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ที่ใครคนหนึ่งจะฆ่าคนรักของตัวเอง คือ พฤติกรรมที่ชอบควบคุมบงการ เขาเสนอรูปแบบ 8 ขั้นตอนที่ช่วยในการระบุ “ลำดับเวลาฆาตกรรม” สิ่งนี้จะทำให้เหยื่อถูกช่วยชีวิตได้ทัน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bbc.in/3kMwP2Z)

Femicide ไม่เพียงแต่ร้ายแรงที่สุดจากความรุนแรงที่เกิดในคู่รัก แต่ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและยาวนานต่อสภาพแวดล้อมของผู้หญิง อย่างเช่น ผู้หญิงที่ตกอยู่ใน Toxic Relationship เป็นเวลานานอาจมีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย เด็กหลายคนสูญเสียแม่ในคดีฆาตกรรมที่เกิดจากพ่อ และกลายเป็นปัญหาในการปรับตัวหรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนใหม่ ๆ

เราต่างรู้ดีว่า ‘การฆาตกรรม’ เป็นเรื่องผิด แต่เมื่อ Femicide เกิดกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว หลายคนกลับปล่อยผ่านและยอมรับ ราวกับความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหาการล่วงละเมิดและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นเรื่องที่แตะต้องไม่ได้ นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยามีบทบาทอย่างมากในการช่วยเยียวยาสุขภาพใจของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่ถูกทำร้ายหรือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากผู้ใหญ่

นี่อาจเป็นเสียงเล็ก ๆ ที่อยากพูดถึงประเด็นละเอียดอ่อนที่ให้เกิดได้กับทุก ๆ เพศ เราไม่อยากให้ใครต้องเจอกับการเลือกปฏิบัติ การใช้ความรุนแรงอย่างที่แล้วมา ไม่ว่าจะเพศไหน สถานะอะไร เราไม่ควรขัดแย้งกันเพื่อความเหนือกว่า แต่อยากให้มองถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์แล้วทำลายกำแพงและอคติเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับ ‘มนุษย์ทุกคน’

หากต้องการใครสักคนที่เคียงข้างและรับฟังทุกเรื่องราว อย่าลืมว่าอูก้าเป็นแอปพลิเคชันที่มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเป็นเสมือนเพื่อนรู้ใจอยู่ใกล้ ๆ คุณ จะที่ไหน เมื่อไร เรื่องอะไร ให้อูก้าช่วยแบ่งเบาภาระทางใจให้คุณนะ 💙

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/4Xjb
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

WHO : https://bit.ly/3gUmcd1

BBC : https://bbc.in/3kMwP2Z

สารานุกรม titanica : https://bit.ly/3jFtPWN

Read More

แด่ผู้ที่โอบกอดความโศกเศร้า : Eight – IU feat. Sugar (BTS)

‘อยากนอนหลับไปตลอดกาล..’

เริ่มต้นจากประโยคแสนธรรมดา แต่จบลงที่ความโศกเศร้าเมื่อเราต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักให้กับ ‘ความเป็นนิรันดร์’ ที่เราเอื้อมไม่ถึง ความรู้สึกมากมายผสมปนเปกันไปหมดเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความจริงว่าเขาไม่ได้อยู่ให้เราจับมือเคียงข้างอีกแล้ว.. เช่นเดียวกับ Eight (에잇) – #IU (아이유) ft. Sugar #BTS บทเพลงที่ถูกแต่งขึ้นแด่เพื่อนของเธอที่ตัดสินใจจากไปเพราะโรคซึมเศร้า และถูกขับร้องเพื่อเป็นเสียงแทนหัวใจของหลายคนที่ไม่มีโอกาสได้ปลอบโยนคนที่เขารักอีกต่อไป

So are you happy now ?
Finally happy now ?

“เธอมีความสุขแล้วใช่ไหม ?
ในที่สุดเธอก็มีความสุขแล้วใช่ไหม ?
ส่วนฉันยังคงเหมือนเดิม
รู้สึกเหมือนสูญเสียทุกสิ่งที่อย่างไป”

อยากจะโกรธที่เธอเลือกหายไปในที่ที่กำลังใจจะส่งไปไม่ถึง อยากโกรธที่เธอไม่ให้โอกาสเราได้บอกเธอว่าเรารักเธอ และเธอสำคัญกับเรามากขนาดไหน แต่เพราะเข้าใจดีว่าโลกนี้ใจร้ายกับเธอมากเพียงใด จึงไม่สามารถโกรธเธอที่ตัดสินใจจากเราไปโดยไม่บอกลา แม้ไม่อาจยินดีกับเธอได้อย่างสุดหัวใจ แต่ก็หวังว่าเธอจะได้พบกับความสุขที่เธอตามหามาแสนนาน ส่วนเราที่ยังคงอยู่ตรงนี้ก็ยังคงทำได้แค่เพียงเป็นกำลังใจให้เหมือนที่ผ่านมา

“ไม่มีอะไรมาพรากเราจากกัน
เรามาพบกันในความฝันนั้น
และคงอยู่ไปตลอดกาล”

หลายครั้งเราก็ถามตัวเองว่าทำไม เป็นเพราะอะไรความรักและความห่วงใยที่เรามีให้จึงส่งไปไม่ถึง..? แต่เพราะคำถามเหล่านั้นมันไม่มีคำตอบ จึงทำได้เพียงยอมรับความจริงว่าในวันนี้ไม่มีเธอให้ได้สร้างความทรงจำและเรื่องราวดี ๆ ร่วมกันอีกต่อไป แต่ถึงอย่างนั้นจะขอเก็บเธอไว้ในความทรงจำ ต่อให้จะต้องเจ็บปวดกับการสูญเสียอีกกี่ครั้ง ในแต่ม่านแห่งความฝันนั้นเธอจะยังมีชีวิตอยู่กับเราเสมอ

ตอนนี้เราอาจจะจมอยู่กับความเศร้า ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ช่วงเวลาที่แสนปวดร้าวนี้จะผ่านพ้น บางทีอาจเป็นเดือน บางทีอาจเป็นปี หรือบางทีความเศร้านี้อาจจะอยู่กับเราตลอดไป แต่เรามั่นใจว่าจะต้องมีความสุขได้อย่างแน่นอน ต่อให้ต้องถือความเศร้าเอาไว้เราก็จะมีความสุข เราจะมีลมหายใจต่อไป รวบรวมความสุขใส่ไว้ในขวดแก้วแห่งความทรงจำ รอให้สักวันหนึ่งที่เราจะได้พบกัน ในวันนั้นเราเอาความสุขมาแชร์กันนะ 🙂

เพื่อน ๆ ที่กำลังโอบกอดความเศร้า ไม่ว่าจะเรื่องอะไรมาปล่อยมันไปกับเสียงเพลง Eight (에잇) – IU (아이유) ft. Sugar ได้ที่ : https://youtu.be/TgOu00Mf3kI 💜

ความตายอาจจะเป็นปลายทางของคนคนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของถนนแห่งความโศกเศร้าของใครอีกคน หลายคนต้องสูญเสียคนที่ตนรักให้กับโรคซึมเศร้า แล้วเอาแต่โทษตนเองที่ไม่สามารถรั้งพวกเขาไว้ ทั้งที่ความจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของใครเลย อยากให้รู้ไว้ว่า “เราพยายามอย่างเต็มที่แล้ว”

เช่นเดียวกับอีกหลายคนที่กำลังรู้สึกว่าทุกอย่างมันยากเกินจะรับไหว เชื่อเถอะว่ามีคนอีกมากมายที่อยากมีเราในชีวิต เพื่อนคนไหนกำลังเจ็บปวดหัวใจ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็มาเล่าให้เราฟังใน “กลุ่มเล่าเหอะอยากฟัง by ooca” คอมมูนิตี้ที่พร้อมจะจับมือประคับประคองทุกคนก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปด้วยกัน จะมารับกำลังใจ หรือจะมาให้กำลังใจกันและกันก็ได้เสมอ พวกเราทุกคนในกลุ่มนี้ยินดีจะรับฟังทุกเรื่องราวโดยไม่ตัดสิน

หรือหากอยากคุยกับใครสักคน อยากร้องไห้ ระบายออกไปโดยไม่ต้องกลัวว่าความลับในใจจะหลุดออกไปให้คนอื่นล่วงรู้ มาคุยกับผู้เชี่ยวชาญของอูก้าได้เสมอ เราพร้อมจะอยู่เคียงข้างและรับฟังทุกเรื่องราวหรือปัญหาที่กำลังรุมเร้า ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 🙂

#OOCAinsight

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/hDpw
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More

Paranoia จัด ๆ เห็นข่าวโควิด “นี่เราติดหรือยังนะ?”

เจ็บคอนิด ๆ เราติดโควิดหรือยังนะ ?

เพื่อนเพิ่งตรวจเจอแล้วเราเพิ่งเจอมัน ทำยังไงดี ?

หันไปทางไหนก็มีแต่เรื่องโควิด เบื่อที่ตัวเองกังวลอะไรแบบนี้ทุกวัน อยากรู้นักว่าทำไมโควิดถึงทำให้เรานอยด์ง่ายนอยด์เก่งแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ☹️

จะบอกว่าจริง ๆ อาการนอยด์หรือหวาดระแวง (Paranoia) เกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้ระแวงสงสัยโดยไม่มีเหตุผล ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น มีนิสัยไม่เป็นมิตรเข้าสังคมลำบาก ถ้านอยด์ในระดับทั่ว ๆ ไป เราอาจจะมีความกังวล หวาดกลัว รู้สึกคิดมากเครียดง่าย ไม่ไว้ใจใคร แต่ถ้ามีอาการระแวงในระดับสูงอาจถึงขั้นหลงผิดคิดไปว่ามีคนประสงค์ร้ายกับเรา ทำให้มองโลกในแง่ร้าย ชอบแยกตัว บางคนอาจมีชุดความคิดที่บิดเบือนไป เช่น เชื่อบางสิ่งที่ไม่มีเหตุผลและไม่เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้สึกนอยด์จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวช เช่น บุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง (Paranoid personality disorder) โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) แต่ “นอยด์” เป็นศัพท์ที่คนใช้กล่าวถึงอารมณ์เบื่อหน่าย คิดมาก ไม่พอใจ ไปจนถึงเหนื่อย เครียด กังวล ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเวลาที่ต้องปรับตัวต่อสถานการณ์ที่คุกคามเราในแง่ของการใช้ชีวิตหรือจิตใจ

😰 ทำไมต้องนอยด์กับโควิด คิดว่าเราติดหรือยัง ?

“นอยด์” เป็นความรู้สึกธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ อย่างที่บอกว่าโควิดไม่ใช่สถานการณ์ปกติแต่มันทำให้ความปลอดภัยในชีวิตเราหายไป จิตใจก็เลยไม่มั่นคง โดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันที่เราต้องเดินทาง ต้องพบปะผู้คน การเสพข่าวหรือรับรู้ว่ามีคนมากมายติดโควิด แล้ววงนั้นก็ตีแคบเข้ามาจนเป็นเพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิทหรือแม้แต่คนในครอบครัวที่ติด แล้วเราจะรอดไปอีกนานแค่ไหน ?

ความกังวลก็แผ่ขยายเป็นความระแวง คิดไปว่าเราอาจจะไม่รอด บ้างก็คิดไปว่าเราติดโควิดไปแล้ว จนสิ่งเหล่านี้กระทบต่อสุขภาพกายและใจ ทำให้เราเครียด นอนไม่หลับ ไม่อยากเจอใคร ไร้ซึ่งพลังบวกในชีวิต จะให้เพื่อนช่วยกระตุ้นดึงความสดใสก็อดระแวงไม่ได้ว่าเพื่อนติดหรือเปล่า บางคนเป็นแล้วรักษาหายแล้วเรายังไม่กล้าไปเจอมันเลย พูดแล้วก็นอยด์ขึ้นมาจนจัดการความรู้สึกนี้ไม่ได้สักที

จะบอกว่าการแยกแยะความจริงไม่จริงนั้นสำคัญมาก ไม่ผิดเลยที่เราห่วงความปลอดภัยของตัวเองและคนที่เรารัก แต่อย่าลืม “ตั้งสติ” อาการนอยด์ เกิดจากความคิดล้วน ๆ จะคิดถูกคิดผิดคิดเยอะก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ลองสังเกตดูจะเห็นว่า ยิ่งช่วงโควิดบังคับให้เราต้องแยกตัวจากสังคมยิ่งทำให้ความคิดเตลิดได้ง่าย เพราะเราจะคิดเยอะเวลาที่ความรู้สึกโดดเดี่ยวเพิ่มขึ้น

😢 ใจเรามีแค่นี้ จะทำให้นอยด์ไปถึงไหน ?

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์โควิดมาไกลเหลือเกินและการจัดการปัญหาในตอนนี้ก็ไม่ได้สร้างความมั่นคงทางใจให้เรามากพอ สิ่งที่เราทำได้คือการโฟกัสสุขภาพใจตัวเอง ไม่ให้พลังลบติดค้างใจจนต้องนอยด์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้ากังวลว่าจะติดโควิดไหม ? เราทำดีที่สุดคือลดความเสี่ยงเท่าที่ทำได้หรือถ้ารู้ว่าเพื่อนติดเราก็อาจจะเลี่ยงการพบกันไปสักระยะจนกว่าตัวเราจะสบายใจ

หลายคนกลัวแต่ก็ไม่กล้าปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนหรือจำเป็นต้องเดินทาง ซึ่งเรารับรู้ว่ามันเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด อย่ากดดันหรือรู้สึกไม่ดีที่เราจะปฏิเสธบางอย่างเพื่อความสบายใจ เพราะเราแค่กำลัง “ดูแลตัวเอง” หากเลี่ยงไม่ได้ให้เราทำดีที่สุดเท่าที่เราไหวและดูแลใจตัวเองให้ดี ยึดความจริงและเสพข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง หากมองในแง่ดีอาการนอยด์ก็ช่วยให้เราระมัดระวังตัวมากขึ้นและพยายามดูแลตัวเองเช่นกัน

อย่างที่ได้ยินกันเสมอ โควิดอยู่เหนือการควบคุมของเรา เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกัน ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเองที่เราใช้ชีวิตในแบบปกติไม่ได้ แต่อาการนอยด์ก็มีแต่จะบั่นทอนใจเราให้ยิ่งบอบช้ำในสถานการณ์แบบนี้ ดังนั้นให้เชื่อใจตัวเองไว้และจัดการกับความรู้สึกนอยด์ที่มันควบคุมเรา เพราะสุขภาพใจสำคัญที่สุดเสมอ 💙

หากนอยด์หนัก คิดลำพังไม่ไหว ใจไม่นิ่งสักที อย่าปล่อยอารมณ์นอยด์กดทับใจคุณ ในเมื่อคุณมีอูก้า บริการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่พร้อมช่วยรับฟังและแบ่งเบาความนอยด์ของคุณ ไม่ว่าจะปัญหาอะไรก็สามารถพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของอูก้าได้เสมอ เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ 🙂

#OOCAstory

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/dtvL
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More

Passion หมดไปเพราะใจที่หมดแรงในยุคโควิด

อยู่บ้านมานาน จนไม่อยากออกไปไหน

มีแผนจะเรียนต่อ…ก็ไม่รู้ต้องรออีกนานไหม

ธุรกิจที่วางไว้ เริ่มตอนนี้คงมีแต่พัง

แม้แต่งานที่เราเคยชอบมาก ๆ ทุกวันนี้เหลือแค่นั่งประชุมออนไลน์ทุกวี่ทุกวัน

.

ทำไมอะไร ๆ ในชีวิตถึงต้องมาสะดุดถึงสองปีเพราะโควิด ? นี่คงเป็นคำถามที่เราอดบ่นกับตัวเองและคนรอบข้างไม่ได้ จากที่พยายามไม่เครียดเพราะไม่ใช่แค่เราที่ได้รับผลกระทบจากโควิด บอกตัวเองว่าตัวอยู่กับมันให้ได้ แต่สุดท้าย passion ที่มี หรือไฟในใจที่อยากพัฒนาตัวเองไปข้างหน้าก็มอดลงไปทุกวัน

อย่างแรกคือโควิดทำให้เราเหนื่อยล้าทางอารมณ์เพราะการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปด้วยความยากลำบาก แม้แต่กิจกรรมที่เราเคยทำเพื่อการผ่อนคลายยังทำไม่ได้ จะคิดจะทำอะไรก็ไม่สดใสเหมือนก่อน ทั้งหมดหวัง หมด passion กว่าจะรวบรวมพลังใจได้แต่ละครั้งนั้นยากเย็น จากการประเมินสุขภาพจิตประชาชนในช่วงการระบาดโควิด-19 ในแง่ของการทำงานหลายคนรู้สึกว่าความสามารถของตัวเองลดลง ขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในที่ทำงานก็แย่ลงด้วย ความเครียดที่รุมเร้าทุกวันเลยทำให้เราหมดไฟและหมดใจได้ง่าย ๆ

Passion หมดหรือเพราะเราพยายามไม่มากพอ ?

ขอบอกเลยว่าไม่ใช่ ! โดยปกติแล้ว passion ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์เรามีตลอดเวลาอยู่แล้ว ในยามที่เราถูกขับเคลื่อนด้วย passion แน่นอนว่าเราทั้งไฟแรง มุ่งมั่น เหมือนจะแผ่พลังบวกออกมาได้ไม่รู้จบ ต่อให้เรื่องที่เจอจะท้าทายแค่ไหน เราก็ยังมีกำลังใจที่จะฝ่าฟันเพราะเรามี passion กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แต่ถ้าสังเกตดี ๆ เราจะรู้ว่าคนเราไม่ได้มี passion ตลอด 365 วัน แล้วก็ไม่ได้เรื่องจำเป็นถึงขั้นต้องกดดันตัวเองให้มี passion ที่สำคัญเราไม่ควรเครียดเพียงเพราะตัวเองไม่มี passion เหมือนคนอื่น ๆ ด้วย

เชื่อเถอะว่าทุกคนต่างเคยผ่านช่วงเวลาที่ passion ค่อย ๆ ลดลงหรือบางคนอาจ passion ตกฮวบเหมือนกราฟที่ทิ้งดิ่งในชั่วพริบตา แค่การตื่นมาเจอเช้าวันใหม่ ฝืนตัวเองให้ลุกไปทำอะไร ๆ ที่เคยชอบยังยาก นั่นไม่ถือเป็นเรื่องผิดแปลกอะไร เพราะ passion ในแต่ละคน ในแต่ละช่วงเวลาก็แปรเปลี่ยนได้ตามสิ่งแวดล้อมที่พบเจอ แล้วในช่วงโควิดแบบนี้ก็อาจเป็นภาวะที่เครียดและวิตกที่สุดแล้วที่หลาย ๆ คนเคยพบเจอมา passion เลยถูกดับไม่ต่างอะไรกับการสาดน้ำเย็นไปที่เทียนไขเล่มหนึ่ง

การมองหา passion ในสิ่งที่ทำ อาจได้ผลกว่าการลงมือทำเพราะ passion

เป็นธรรมดาที่เราเลือกเรียนในสิ่งที่สนใจ เลือกทำงานในองค์กรที่ชอบ หรืออยากออกไปใช้ชีวิตในแบบที่ฝัน เราจึงมีจุดโฟกัสว่า “passion จะเป็นตัวนำทางไปหาความสุข” แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างในชีวิตคือเหรียญสองด้าน มีทั้งส่วนดีและไม่ดี แม้จะมีด้านที่ชอบมากหน่อย แต่ก็ยังมีเศษเสี้ยวของความไม่ชอบให้ได้ต่อสู้ และไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะปฏิเสธสิ่งที่ไม่ตรงกับ passion หรือความต้องการของตัวเองได้ กลายเป็นความเครียดที่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่พยายามกด passion ของเราให้จมลง วิธีที่ดีที่สุดไม่ใช่การไขว่คว้าหา passion แต่เป็นการดีลกับความเครียดที่เข้ามาอย่างถูกวิธีต่างหาก

ต้นตอของความเครียดหลัก ๆ ในช่วงโควิดคือเราใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการไม่ได้

ใคร ๆ ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันถึงสถานการณ์โควิดว่า “ไม่ให้เครียดคงไม่ไหว…อย่าได้เอ่ยถึง passion เลย เพราะหมดไปนานแล้ว” ดังนั้นอย่าเพิ่งกดดันตัวเองว่าต้องทำตาม passion ให้ได้ ต้องมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ทุกวันนี้เราอาจต้องลดความคาดหวังที่มีต่อตัวเองลงและรักษาคุณค่าที่มีไว้ให้ยาวนานที่สุด การทำได้หรือไม่ได้ ไม่สำคัญเท่าเรารับรู้คุณค่าของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งสิ่งที่กำลังทำอยู่และตัวเราเองที่กำลังใช้ชีวิตอยู่ แต่จะบอกตัวเองให้อยู่กับปัจจุบัน here and now ท่ามกลางโควิดเป็นเรื่องที่เหนื่อยล้าเหลือเกิน

ไม่เป็นไรนะ เพราะ #อูก้ามีทางออก บริการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญในยุคโควิดแบบนี้ แค่ออกจากบ้านยังยาก การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตคงไม่ง่ายเหมือนกัน ปัจจุบันช่องทางออนไลน์จึงเป็นทางเลือกใหม่ให้คุณดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรง ไม่ต้องเดินทางไม่ต้องเสียเวลารอคิว เพราะ “อูก้าแอปพลิเคชันคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล” เข้าใจคุณยิ่งกว่าใคร

🌟 คุยได้ทุกปัญหาส่วนตัวและอาการของความเครียด หมด passion หมดไฟ ฯลฯ

🌟 มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่มีการรับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี

🌟 แค่มีอินเทอร์เน็ตก็ปรึกษาได้ในวันและเวลาที่คุณสะดวก

🌟 สะดวก ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูง

🌟 มีแบบทดสอบความเครียดเพื่อการประเมินที่เชื่อถือได้

นอกจากนี้เรายังมีแพ็กเกจบริการหลากหลายที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กรอีกด้วย ทั้งการประเมินผลความเครียดเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจน หรือระบบรายงานความเครียดและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเฉพาะรายบุคคล การปรึกษาจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวและการมองหาทางออกก็ไม่ใช่เรื่องผิด อย่ามองข้ามเรื่องปัญหาสุขภาพใจที่เป็นสาเหตุหลักของสุขภาพกายมากมาย

พลังใจที่ดีจะทำให้เราเริ่มต้นสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ได้เสมอ แน่นอนว่าสุขภาพใจที่ไม่พร้อมและความเครียดที่ถาโถมจะเป็นตัวฉุดรั้งไม่ให้ passion แสดงศักยภาพออกมา เริ่มต้นจากการถามตัวเองว่า เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ? สิ่งที่เราอยากทำคืออะไรและในช่วงโควิดมีขั้นตอนไหนที่เราลงมือได้จริง ? ถ้าสิ่งที่ตั้งใจต้องเปลี่ยนแผนไปเราจะสามารถสร้างคุณค่าในสิ่งอื่นแทนได้หรือไม่ ?

สุดท้ายคุณค่าที่เราค้นพบไม่ได้มาจากชีวิตที่ถูกขับเคลื่อนด้วย passion แต่คือการมองชีวิตในแบบที่เป็นและใช้ชีวิตของเราสร้าง passion ใหม่ขึ้นมา หากเผชิญกับความเครียดในยุคโควิด เราแค่ต้องตระหนักรู้ว่าเรากำลังถูกมันเล่นงาน หาต้นตอและจัดการความเครียดนั้นด้วยความเข้าใจ อูก้าขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจและพื้นที่ปลอดภัยในคุณได้พักผ่อนและฟื้นฟูใจอีกครั้ง

อย่าลืมว่าคุณสำคัญสำหรับตัวเองเสมอและวันนี้แค่คุณพยายาม คุณก็เก่งมากแล้ว !

#OOCAknowledge

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/SY8n
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/885500

https://www.salika.co/2020/09/02/how-to-deal-with-lack-of-passion/

Read More

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่กับการดูแลสุขภาพจิตใจในยุคโควิด!

‘ลูกคนแรก’ มักเป็นข่าวดีที่ใครหลายคนอยากได้ยิน แต่สำหรับหลายคนอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่หลายคู่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตครั้งใหญ่ และยิ่งสุขภาพจิตเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วยแล้ว คุณแม่มือใหม่และคุณพ่อป้ายแดงยิ่งต้องทำการบ้านและใส่ใจเรื่องสุขภาพจิตให้มาก เพื่อสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก

ปัญหาสุขภาพจิตใจที่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ต้องเผชิญ

หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่อาจจะรู้จักกันอยู่แล้วคือ “baby blues” หรือ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” หารู้ไม่ว่าสุขภาพจิตใจอาจได้รับผลกระทบตั้งแต่ ‘เริ่มตั้งครรภ์’ จนเกิดเป็น “ภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์” และในสังคมนี้มีคุณแม่มือใหม่จำนวนมากที่ต้องเผชิญหน้ากับภาวะซึมเศร้าทั้งระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร จากสถิติของ The American Congress of Obstetricians and Gynecologists ( AGOG ) เผยให้เห็นว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จำนวน 1 ใน 4 มีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว

แน่นอนว่าไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะต้องเผชิญหน้ากับภาวะดังกล่าวทุกคน แต่หากไม่รู้เท่าทันปัญหาสุขภาพจิตและปล่อยปละละเลยจนไม่ได้รับการรักษาเยียวยาหรือดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกวิธี อาจเกิดเป็นปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังอย่าง โรควิตกกังวล (perinatal anxiety) โรคซึมเศร้า (perinatal depression) โรคย้ำคิดย้ำทำ (perinatal OCD) ไปจนถึงโรคจิต (postpartum psychosis) การดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงเช่นเดียวกับสุขภาพกายอยู่เสมอจึงเป็นหนึ่งในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตนี้

สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตในคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่

สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยเฉพาะกับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน อิสระที่เคยมีกลับหายไป จะทำอะไรต้องระมัดระวังและคิดเยอะมากกว่าเดิม และสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างฮอร์โมน ไปจนถึงรูปลักษณ์ภายนอก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน

หากคุณแม่มีโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เคยมีประวัติโรคซึมเศร้าก่อนตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีกับคนในครอบครัว ถูกทำร้ายหรือตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์ ก็เป็นอีกสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตรด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านสังคม เพราะความคาดหวังของสังคมที่ไม่อนุญาตให้คนเป็น ‘พ่อคนแม่คน’ ทำผิดพลาด และอุดมคติของสังคมที่มีต่อ “ความเป็นแม่” กดทับความดีใจของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่จนเกิดเป็นความกังวล ความไม่สบายใจ รู้สึกผิดและเกรงกลัวต่อความผิดพลาด อันเป็นบ่อเกิดของปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะปัจจุบันที่ทุกคนกำลังเผชิญกับวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การมีลูกท่ามกลางความไม่มั่นคงเช่นนี้ยิ่งทำให้คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่รู้สึกกังวลและเครียดมากกว่าเดิมหลายเท่า

ผลกระทบของสุขภาพจิตของพ่อและแม่ต่อลูกน้อย

สุขภาพจิตนอกจากจะกระทบถึงการดำเนินชีวิตของคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่แล้ว ยังสามารถกระทบต่อพัฒนาการของลูกน้อยด้วยเช่นกัน มีงานวิจัยเผยให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าในช่วงหลายเดือนหลังคลอดบุตรส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกและพัฒนาการของเด็กทั้งด้านกายภาพ พัฒนาการด้านอารมณ์และสติปัญญาด้วยเช่นกัน

หนึ่งในอาการของปัญหาสุขภาพจิตที่กล่าวไปข้างต้นอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เกิดพฤติกรรมกังวลจนตีตัวออกห่างจากคนรอบข้าง รวมถึงปล่อยปละละเลยลูกน้อย หรือบางกรณีอาจร้ายแรงกว่านั้นเมื่อสุขภาพจิตดำดิ่งจนก่อให้เกิดเป็นโรคจิต ทำให้เกิดอาการเห็นภาพหลอน หรือหูแว่ว ไปจนถึงความพยายามทำร้ายตนเองหรือลูกของตนด้วยเช่นกัน

วิธีการดูแลสุขภาพจิตใจด้วยตนเอง

สุขภาพจิตก็เหมือนสุขภาพกาย มีวิธีป้องกับ รับมือ และรักษาให้หายได้เช่นเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมและความคิดของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อเข้ารับการรักษาเยียวยาอย่างทันท่วงที

วิธีการรักษาสุขภาพจิตก็มีแตกต่างกันไป เริ่มจากกิจกรรมทั่วไปที่สามารถทำได้เองที่บ้างอย่างการออกกำลังกาย หรือดูแลสุขภาพภาพกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีการทำจิตบำบัด การพูดคุยปรึกษาปับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเป็นระยะ ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วอาจจะมีการทานยาประกอบกับการทำจิตบำบัดควบคู่กันด้วยก็ได้

การให้กำเนิดอีกหนึ่งชีวิตเป็นเรื่องน่ายินดี ขณะเดียวกันก็เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ การดูแลสุขภาพจิตใจให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ หากกำลังมองหาที่ปรึกษาในการดูแลสุขภาพใจ มาหาอูก้าได้เสมอ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่พร้อมรับฟังทุกปัญหาใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านความสัมพันธ์ การจัดการความเครียดและอารมณ์ ไปจนถึงพัฒนาการเด็ก เพราะฉะนั้นไม่ว่าที่ไหนหรือเมื่อไร เรื่องของใจให้เรารับฟังนะ

________________________________⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/t2FB
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิง:

https://theconversation.com/mental-disorders-are-common-for-new-parents-you-dont-have-to-go-through-it-alone-153243

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29331695/

https://www.healthline.com/health/depression/perinatal-depression#prevention

https://www.mind.org.uk/information-support/types-of-mental-health-problems/postnatal-depression-and-perinatal-mental-health/postnatal-and-antenatal-depression/

Read More

ไปดูผีเสื้อกับเขาดีไหม? ทำไมเราถึงยังอยู่ใน Toxic-relationship?

ความสัมพันธ์หวานอมขม คงเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่หลายคนเคยเจอ แม้จะรู้ดีว่าความขมและความหวานรสชาติเป็นอย่างไร แต่เมื่อสองขั้วตรงข้ามเข้ามาผสมกันกลับมีสเน่ห์น่าค้นหา จะคายก็ไม่กล้าจะกลืนก็ไม่ลง เป็นหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนรอติดตามความสัมพันธ์สุดจะซับซ้อนของ “ยูนาบี” และ “พัคแจออน” สองตัวละครหลักจากซีรี่ย์ชื่อดังใน Netflix อย่าง “Nevertheless รักนี้ห้ามไม่ได้” 🤭

เมื่อความรักมาถึงทางตัน ความหวานละลายหายไปเหลือแต่ความขมจึงเกิดเป็นคำถามขึ้นในใจ ว่า “ความสัมพันธ์นี้มันผิดพลาดตั้งแต่ตรงไหนกัน” วันนี้อูก้าอยากชวนทุกคนมาถอดรหัสความสัมพันธ์ผ่าน ‘ผีเสื้อ’ 🦋สัญลักษณ์จากซีรี่ย์เรื่องนี้กัน

“ความสุขก็เหมือนผีเสื้อ เมื่อไหร่ที่เราพยายามไล่จับมันจะหนีไปเสมอ แต่เมื่อไหร่ที่เรานั่งอยู่เงียบ ๆ มันจะมาเกาะที่เราเอง” เป็นคำบอกใบ้ตั้งแต่ต้นเรื่องว่าผีเสื้อตัวแรกในเรื่องนี้ก็คือ ‘ความสุข’ ที่จะเข้ามาทำให้ความสัมพันธ์ครั้งนี้กลายเป็นยาพิษ ☠️

สำหรับนาบีที่เพิ่งเจ็บปวดจากประสบการณ์รักครั้งเก่า เมื่อเธอมาพบกับหนุ่มหล่อแสนอ่อนโยนและเอาใจใส่อย่าง “พัคแจออน” หลังจากต้องเผชิญกับพฤติกรรมสุดจะท็อกซิกของแฟนเก่า ทั้ง “การบังคับควบคุม” หรือการทำตัวเป็นเจ้าของชีวิต แล้วยังจะพยายามกล่าวโทษให้เธอรู้สึกผิดที่ ‘ดูแลตนเองมากไป’ เช่น การทำผม หรือทาเล็บ โดยที่เขาไม่สนใจว่านั่นคือ ‘ร่างกายของเธอ’

แจออนจึงเปรียบเสมือนกับ ‘ก้อนความสุข’ ที่ขาดหายไปในความสัมพันธ์ครั้งก่อน ประกอบกับนิยามความรักที่เลือนรางหลังโดนนอกใจ ความเจ้าชู้แพรวพราวของแจออนเลยกลายเป็นเรื่องที่ ‘ยอมรับได้’ ในความคิดของนาบี ไม่แปลกที่เธอจะยอมกลายเป็นผีเสื้อบินเข้ากองไฟเพื่อไขว่คว้าความสุขนั้นด้วยตัวเธอเอง

“ผีเสื้อดูเป็นสัตว์รักอิสระ 🦋 แต่จริง ๆ แล้วมันจะชอบบินวน ๆ อยู่ที่เดิม ๆ ที่มันคุ้นเคย”

ตอนที่แจออนเลือกจะปล่อยผีเสื้อออกไป แต่มันกลับบินมาเกาะที่นิ้วของเขาแทนที่จะออกไปบินอย่างอิสระ ดูผ่าน ๆ เราอาจจะคิดว่าผีเสื้อตัวนั้นคงเป็นนาบีที่เอาแต่กลับมาหาแจออน ผู้เป็นเหมือนสถานที่ที่คุ้นเคยอยู่ทุกครั้ง แต่หากย้อนไปดูอีกสักครั้งจะเห็นว่าแจออนเองก็ผูกพันกับนาบี จนไม่อาจมี ‘อิสระ’ ทางความรู้สึกที่จะบินไปตอมตรงโน้นทีหรือตรงนี้ทีได้เหมือนเดิม ต่อให้จะบินจากกันไปหลายต่อหลายครั้งก็ทำได้เพียงกลับมาหากันและกันอยู่ดี ผีเสื้อตัวที่สองนี้คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากนาบีและแจออนเอง

จนกระทั่งนาบีมี “พื้นที่ปลอดภัยใหม่” ในตอนที่เธอเลือกจะหนีกลับบ้านเกิด พบบรรยากาศและเพื่อนเก่าที่คุ้นเคยอย่าง “ยังโดฮยอก” ประกอบกับแจออนที่ไม่ได้มีแค่นาบีเป็นพื้นที่ปลอดภัย แต่ยังมี “ยุนซอลอา” แฟนเหมือนจะเก่าที่เป็นเหมือนบ้านให้บินกลับ ความลังเลว่าจะกลับไปยังสถานที่ที่คุ้นเคยแห่งไหนดีจึงเกิดขึ้น รั้งให้ความสัมพันธ์ที่ครุมเครืออยู่นั้นต้องเบลอไปมากกว่าเดิม 😢

เมื่อถึงจุดสูงสุดที่ความรู้สึกของคนคนหนึ่งจะรับไหว ทุกสิ่งทุกอย่างเลยต้องการ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ และนั่นก็คือผีเสื้อตัวที่สามที่ออกมาบินโลดโผนในช่วงสองตอนที่ผ่านมา

นาบี ที่ได้รับความสบายใจจากครอบครัวและโดฮยอกที่เป็นเสาหลักที่ค้ำจุนในความรู้สึกเธอมั่นคง ความท็อกซิกที่เธอซึมซับมาจึงเบาบางลง ทำให้เธอได้เห็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิม ความรู้สึกและคำพูดของโดฮยอกทำให้เธอรู้ว่าตัวเองมีคุณค่ามากกว่าตอนที่อยู่กับแจออน

ขณะเดียวกัน แจออนได้อยู่กับตัวเองตลอดเวลาที่นาบีบินหนีหายไป เมื่อไล่ตามก็พบว่าผีเสื้อตัวนี้กำลังจะบินหนีไปไม่กลับมา เขาจึงรู้สึกว่าต้องเปลี่ยนแปลงบ้างสักที เห็นได้ชัดว่าเขาพยายามทำทุกอย่างให้ชัดเจนว่าสำหรับเขานาบีมีความหมายอย่างไร ทั้งป่าวประกาศให้สาธารณะได้รับรู้ ทั้งแสดงความเป็นศัตรูกับโดฮยอกอย่างออกหน้าออกตา ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนได้ดั่งใจคิด เมื่อเผชิญหน้ากับกำแพงความหวาดระแวงที่นาบีก่อขึ้นมา เขาที่เพิ่งหัดแสดงออกจึงได้แต่กลืนความรู้สึกลงไปซะอย่างนั้น

เห็นได้ชัดว่าความสัมพันธ์เป็นพิษไม่ได้ทำให้ใครรู้สึกดีขึ้นมา มิหน้ำซ้ำอาจจะแปรเปลี่ยนความรักให้เป็นพลังลบแล้วมาทำร้ายความรู้สึกกันและกัน เหมือนที่นาบีและแจออนเล่นบทพ่อแง่แม่งอนกันมาตลอด ต่างคนก็ต่างไม่ยอมบอกความรู้สึกในใจออกไปอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งไม่ยอมรับฟังกันและกันเลยสักครั้ง จนทำให้มีแต่ความหวาดระแวง ความหึงหวง ไม่เชื่อใจ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่าง “ขอบเขตความสัมพันธ์” ไม่ชัดเจน

เมื่อหลงเข้าไปแล้วครั้งหนึ่ง การจะออกมาจากความสัมพันธ์เป็นพิษนั้นไม่ง่ายอย่างที่ใครอาจจะจินตนาการไว้ เพราะฉะนั้นประโยคที่ว่า “รู้ว่าร้ายแล้วทำไมไม่ออกมา” อาจจะไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก แต่อย่างน้อยผีเสื้อตัวที่สามหรือความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ของนาบีกับแจออนนี้ก็พอจะบอกได้ว่า

“ทุกความผิดพลาดย่อมแก้ไขได้” 🙂

เริ่มต้นจากการยอมรับว่าสิ่งที่เกิดอยู่มันผิด หันเข้าหากันเพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาความสัมพันธ์อย่างตรงไปตรงมา และการหาที่พักใจไว้เป็นแหล่งพลังงานบวกเพื่อฟื้นฟูคุณค่าในตัวเองกลับมาก็เป็นเรื่องที่ดี แต่อะไรก็ไม่สำคัญไปมากกว่า “การตัดสินใจอย่างแน่วแน่” ที่จะเปลี่ยนแปลง

เหมือนที่นาบีพยายามจะแก้ไขการตัดสินใจที่ผิดพลาดของตนเอง พัคแจออนที่พยายามแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น หรือแม่ของนาบีที่แม้จะเจ็บช้ำมาเท่าไหร่ก็เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ส่วนเรื่องราวครั้งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ทั้งสองคนจะเริ่มต้นใหม่กันทางไหน ติดตามชมในตอนสุดท้ายพร้อมกันในคืนนี้ได้เลย

เพื่อนคนไหนกำลังติดอยู่ในวังวนแห่งความสัมพันธ์เป็นพิษเช่นเดียวกับนาบีและแจออน อูก้าขอเป็นเพื่อนที่อยู่เคียงข้าง รับฟังและเคารพทุกปัญหาใจอย่างไม่ตัดสิน หากรู้สึกเหนื่อยหรือเจ็บปวดเกินจะรับไหว มาคุยและหาทางออกกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้เสมอ 💙💚

#OOCAinsight #toxicrelationship #nevertheless #SongKang #HanSohee

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/gxyH
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

Read More

“แน่ใจว่าไม่ได้จัดฉาก?” ปฏิเสธความจริงหรือต่อสู้กับ “ความเชื่อ” ในใจ

“เรื่องโกหกฉันไม่เสียเวลาอ่านหรอก”

“ฉันไม่เถียงกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง”

“ที่แชร์กันไม่จริงสักอย่าง แหล่งข่าวเชื่อถือไม่ได้”

ถ้าเราเคยมีความคิดทำนองนี้กับข่าวหรือโพสต์อะไรก็ตามที่คนแชร์ต่อหรือถกเถียงกันในสังคม ที่จริงมันอาจเป็นเรื่องดีที่เรารู้จักตั้งคำถามก่อนที่จะหาคำตอบ แต่ถ้าเราปฏิเสธบางสิ่งบางอย่างหรือผลัก ‘ความจริง’ ออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะการ ‘ยอมรับ’ จะทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจหรือรู้สึกเหมือนถูกคุกคามทางใจ การเผชิญหน้ากับสิ่งที่เราอาจทนไม่ได้นั้น อาจเป็นกลไกทางจิตที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวเอง

เจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ได้เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า ‘กลไกการป้องกันทางจิต’ (Defense mechanism) แต่ไม่ใช่ทุกคนจะปฏิเสธด้วยวิธีแบบที่ฟรอยด์บอก เพราะเราทุกคนต่างมีรูปแบบในการปฏิเสธแตกต่างกันไป ตามความสบายใจหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ซึ่งการปฏิเสธในระยะสั้นมักถูกนำมาใช้บ่อย ๆ เพราะเป็นประโยชน์ในการทำลายความตึงเครียดหรือสถานการณ์ที่รุนแรง เพื่อช่วยไม่ให้ร่างกายเราตกใจและติดหลุมของความทุกข์ในระยะยาว จนเราเคยชินกับการปฏิเสธความจริงซ้ำ ๆ หากติดเป็นนิสัยเราอาจละทิ้งความจริงไปเลย สุดท้ายเราจะเจอกับปัญหาการปรับตัว (Unhealthy adaptive pattern)

หลีกหนีข้อเท็จจริงแม้จะมีหลักฐานมากมาย อาจเป็นเพราะพวกเขากำลังตัดสินใจว่า

🤔 เมินดีไหม ?

“มองไม่เห็น เท่ากับมันไม่มี” หรือเป็นการปฏิเสธในเชิง “out of sight, out of mind” เมื่อเราไม่พอใจหรือมีอะไรที่รบกวนความรู้สึกก็แค่วางมันไว้ที่เดิม ดันออกไปด้านข้าง หรือจับมันโยนออกจากตัวเราไปซะ เท่านี้ก็แปลว่ามันไม่ได้เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องยอมรับการมีอยู่ของก้อนความจริงที่เราไม่ต้องการ

🙈 ย่อขนาดความจริงให้เล็กที่สุด

“มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล…ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่หรือส่งต่อความกังวลให้คนอื่น” การย่อปัญหาให้เล็กที่สุดเกิดขึ้น แปลได้ว่าพวกเขามีคนมีสติพอที่จะรับรู้ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว แต่มีแนวโน้มที่จะมองข้ามผลกระทบ หรือยอมรับว่ามันเป็นปัญหา เพราะต้องการลดความรุนแรงทางจิตใจ

☹️ ถ่ายโอนความรับผิดชอบ

“รู้ว่ามันเป็นปัญหา แต่ฉันไม่สามารถทำอะไรกับมันได้”

“ไม่เป็นไร ทุกอย่างจะต้องออกมาดี”

การปฏิเสธประเภทนี้พบได้เมื่อเรายอมรับปัญหาที่มีอยู่ แต่ปฏิเสธบทบาทและความรับผิดชอบในการแก้ไข รู้ว่ามันเป็นเรื่องจริงจังและสิ่งที่เกิดมีข้อเท็จจริงพิสูจน์ แต่ไม่อยากเผชิญกับการถูกตำหนิหรือความเสี่ยงที่จะตามมา

ปัญหาของความคิดเหล่านี้คือปัญหาจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงและมักจะทับถมขึ้นเรื่อย ๆ อะไรที่เราไม่แก้ไข มนุษย์จะตกหลุมของความเคยชินและทำซ้ำ ในขณะที่การเอาตัวรอดด้วยการหลีกเลี่ยงเหมือนจะง่ายกว่า แต่สุดท้ายการปกป้องใจตัวเองแบบผิด ๆ อาจผลักไสความช่วยเหลือออกไป เมื่อไรที่เราหนีไม่พ้นหรือใช้วิธีปฏิเสธความจริงแบบเดิม ๆ ไม่ได้ เราก็มองหาทางใหม่ไปเรื่อย ๆ จนเราเริ่มแยกแยะความเป็นจริงกับสิ่งที่เป็นเท็จไม่ออก สุดท้ายกลายเป็นวงจรที่นำความทุกข์มาให้ใจเรา

สิ่งที่น่ากังวลคือกลไกป้องกันตัวเองแบบนี้ เชื่อมโยงกับพฤติกรรมอันตราย เช่น การเสพติด การทำร้ายร่างกาย และปัญหาทางใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความนับถือตนเองต่ำ (Low self-esteem) ปัญหาความสัมพันธ์ (Relationship issues) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorders) ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล

🤔 เราต่อสู้กับความจริงหรือต่อสู้กับ “ความเชื่อ” ในใจตัวเอง

การปฏิเสธเป็นรากฐานที่สำคัญของความเป็นจริงทางเลือก (Alternative reality) คือเราเลือกได้ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ การให้เหตุผลที่มีแรงจูงใจ การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ความไม่ลงรอยกันทางปัญญา (Cognitive dissonance) การคิดแบบเหมารวม และอคติในการยืนยัน (Confirmation bias) ซึ่งทำให้เราเปิดรับแต่ชุดข้อมูลที่จะมายืนยันความเชื่อของเราเท่านั้น ความชอบไม่ชอบจะทำให้เราเลือกวิธีหาหลักฐานและตีความในแบบที่เราสบายใจ การหลีกเลี่ยงอารมณ์เชิงลบกระตุ้นให้เราปรับสิ่งต่าง ๆ ตามใจตัวเองและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรืออะไรที่ขัดกับใจเรา

👀 ลืมตาเพื่อรับรู้ แม้จะเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้

การยอมรับความจริงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ “ความจริง” ไม่ได้ถูกลดทอนคุณค่าจากคนที่ทำลายมันเท่านั้น แต่คนที่ปฏิเสธความจริงด้วยกลไกป้องตนเองก็กำลังเพิกเฉยมันเช่นกัน เพราะนั่นอาจเท่ากับเรากำลังสนับสนุนคนที่พยายามล้มล้าง “ความจริง”

พวกเราไม่มีใครอยากเผชิญความเจ็บปวดทางอารมณ์ ดังนั้นการปฏิเสธความจริงจึงถือเป็นความตั้งใจเริ่มต้นของเรา บางครั้งมันก็คือ “หนทางรอด” อย่างไรก็ตามการเรียนรู้วิธีรับมือและจัดการกับความรู้สึก ปัญหา และสถานการณ์ที่ไม่สบายใจในชีวิต เป็นการถนอมสุขภาพจิตของเราอย่างถูกวิธีมากกว่าและทำให้เราก้าวข้ามการปฏิเสธความจริงแบบผิด ๆ ได้

บางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่จริงอาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราเชื่อ เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าเราอยากเชื่อในแบบที่ต่างออกไป จะให้ยอมรับทั้งที่ไม่ชอบมันได้อย่างไร ? วิธีที่ง่ายที่สุดอาจเริ่มจากการถามตัวเองว่าถ้าเราไม่ตอบสนองต่อสิ่งนั้น จะมีผลกระทบหรืออันตรายต่อตัวเองและคนรอบข้างมากน้อยเพียงใด ?

ในวันนี้ที่เราใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากกว่าที่เคย แต่ข้อมูลข่าวสารกับล้นหลามจนรับไม่ไหว ถ้าจิตใจของคุณกำลังเหนื่อยล้าหรือต่อสู้กับอะไรบางอย่างที่รบกวนใจ ลองเริ่มต้นด้วยการถ่ายเทภาระทางใจมาให้อูก้า เพื่อนรู้ใจที่พร้อมดูแลคุณทุกที่ทุกเวลากับบริการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ เรายินดีรับฟังทุกปัญหาและหาทางออกร่วมกันกับคุณ เพราะสุขภาพใจไม่ควรถูกละเลย 💙💚

#OOCAknowledge

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/v1W7
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.psychalive.org/denial-the-danger-in-rejecting-reality/

https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/denial/art-20047926

https://www.betterhelp.com/advice/general/what-is-denial-psychology-how-to-address-it/

Read More

ทำยังไง ? เมื่อบ้านไม่เคยเป็นเซฟโซน และครอบครัวไม่เคยเซฟใจ

วันที่เหนื่อยล้าเราก็อยากพาตัวเองกลับบ้าน เพราะมีครอบครัวที่พร้อมจะเป็นเซฟโซน (Safe zone) ให้เราพึ่งพิงแต่สำหรับใครอีกหลายคน ที่ที่เรียกว่า “บ้าน” อาจไม่ได้ให้ความรู้สึกแบบนั้น และ “ครอบครัว” อาจฟังดูหนักแน่นเพียงแค่ชื่อ แต่กลับเปราะบางทางความรู้สึก เพราะนอกจากจะไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยแล้ว ยังทำให้รู้สึกเครียด กดดันและสับสนยิ่งกว่าเดิม 😥

เซฟโซนที่หายไป …

การจะสร้างบ้านให้เป็นเซฟโซนสำหรับคนในครอบครัว ต้องเริ่มจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หากเรารู้สึกเหมือนมีช่องว่างกับครอบครัว ขัดแย้งในการแสดงความคิดเห็น โยนคำพูดร้าย ๆ ใส่กัน ไปจนถึงลดทอนความมั่นใจกัน “มีแต่ติ ไม่เคยชม” นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึกไม่ปลอดภัยกับบรรยากาศตึงเครียดในบ้าน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นนาน ๆ การทำร้ายทางอารมณ์นี้จะกลายเป็นความเครียดกดทับใจ 💢

ความหนักอึ้งในใจเป็นสัญญาณว่านี่คือรูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship) บางครอบครัวอาจหลีกเลี่ยงการปะทะ ขณะที่บางคนกลับใช้วิธีโต้ตอบรุนแรง จนเครียดและอ่อนล้าไปทั้งกายใจกับคำว่า “ครอบครัว”

💥 เพราะ “ความรุนแรง” ในครอบครัว ไม่ใช่แค่บาดแผลที่มองเห็นด้วยตา 💥

มีงานวิจัยยืนยันว่าธรรมชาติของมนุษย์เราจะพยายามกักเก็บ “ความก้าวร้าว” ไว้ภายใน แต่เลือกปลดปล่อยออกมากับครอบครัว ราวกับเป็นเรื่อง “ปกติ” เช่น การแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ชักสีหน้า พูดจาประชดประชัน เป็นต้น และน่าเป็นห่วงที่ทุกคนไม่รู้ว่า สิ่งที่ทำนับเป็นความรุนแรงทางใจ รวมถึงกำลังกัดเซาะความสัมพันธ์ในครอบครับให้เกิดรอยร้าวทีละเล็กละน้อย

พฤติกรรมที่เป็นพิษเหล่านี้เองที่เปลี่ยนเซฟโซนให้กลายเป็นพื้นที่ไม่สบายใจ แม้จะมีสมาชิกเพียงคนเดียวที่เป็นพิษแต่นั่นก็เพียงพอที่จะทำลายภาพรวมของครอบครัว เพราะพฤติกรรมของหนึ่งส่งผลกระทบต่อการสร้างบุคลิกภาพหรือลักษณะตัวตนของคนรอบข้างด้วย

ในวันที่เราติดหลุมปัญหา (struggle) รู้สึกเครียด หรือสับสนกับการค้นหาอัตลักษณ์ (Identity) และการรับรู้คุณค่าในตนเอง (Self-esteem) เราจะเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยการแรงสนับสนุนทั้งด้านอารมณ์ (Emotional support) และทางสังคม (Social support) จากคนที่รักเรา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงครอบครัวเป็นอันดับแรก แต่ถ้าเรารับรู้แล้วว่าครอบครัวไม่ใช้พื้นที่ตรงนั้นสำหรับเราล่ะ ? เราจะรู้สึกว่าแตกสลายแค่ไหน ?

‘โดดเดี่ยวและว่างเปล่า’ เมื่อมองไปในบ้านไม่เห็นเซฟโซน

และยิ่งแตกสลายมากขึ้น ในวันที่ครอบครัวไม่เซฟใจกัน 😢

เราเครียดและเป็นทุกข์เมื่อถูกคุกคามพื้นที่ปลอดภัย โดนทำร้ายจิตใจจากคนนอกบ้านก็ว่าหนักแล้ว แต่ยิ่งเจ็บมากขึ้นไปอีกเมื่อครอบครัวหรือคนใกล้ตัวทำร้ายเรา Anita Vangelisti ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสในออสตินกล่าวว่า “ความเจ็บปวดคืออาการบาดเจ็บทางอารมณ์ซึ่งอาจเกิดจากการสื่อสาร และการทำร้ายจิตใจในครอบครัว (Family hurt) นั้นเจ็บปวดเป็นพิเศษด้วยเหตุผลบางอย่าง” หลัก ๆ เลย คือ

  1. ความเชื่อที่ว่า “ครอบครัว” รักเราโดยไม่มีเงื่อนไข

คนส่วนใหญ่มีความเชื่อที่ยึดถือมานานว่าสมาชิกในครอบครัวคือคนที่จะข้างเรา (Be there) อย่างไม่มีเงื่อนไข เรียกว่าสายใยในครอบครัวได้สร้างความผูกพันตั้งแต่เราเกิดมาโดยปริยาย เมื่อสิ่งที่เข้ามากระทบใจมีสาเหตุมาจากการกระทำหรือคำพูดของคนในครอบครัว ความรู้สึกเราจึงเหมือนถูกดึงขึ้นดึงลงไปด้วย แม้คนอื่นจะทำร้ายเราในลักษณะเดียวกันแต่เราจะรู้สึกว่าบาดแผลจากครอบครัวนั้นรุนแรงกว่ามาก

  1. ความทรงจำในบ้านถูกนำมาใช้ทำร้ายกัน

สมาชิกในครอบครัวที่ใช้เวลาร่วมกันหลายเดือนหลายปี บางคนก็เทียบเท่าอายุปัจจุบัน เราต่างมีเรื่องราวมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องน่าอาย ตลกขบขันในวัยเด็ก ประวัติที่ผิดพลาด จุดด้อยที่อยากปกปิดและอีกมากมาย ใครจะรู้ว่าคนในครอบครัวจะล้อเลียนในเรื่องที่เราไม่ชอบซ้ำ ๆ ตอกย้ำบาดแผลเดิมอยู่บ่อย ๆ ยิ่งคิดจะลบก็ยิ่งเครียด กลายเป็นคนในครอบครัวนั่นเองที่ข้ามเส้นมาภายใต้คำอ้างว่า “ไม่เห็นเป็นไร คนในครอบครัวทั้งนั้น”

  1. ครอบครัวเดียวกัน ไม่ต้องเกรงใจ ?

สมาชิกในครอบครัวมักจะพึ่งพาอาศัยกันในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการสนับสนุน คำแนะนำและการเงิน แถมคนในบ้านยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนทางอารมณ์ (Emotionally invested) ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเวลาที่เราระเบิดอารมณ์ฟูมฟาย เราคาดหวังว่าคนในครอบครัวจะเป็นเซฟโซนเหมือนที่เราโอบกอดพวกเขา ในใจเผลอคิดไปว่าถ้าเราทำบางสิ่งจะได้รับการตอบสนองบางอย่างกลับมา จนกลายเป็นวังวนที่ทำให้เครียดและเจ็บปวดมากกว่าความสัมพันธ์แบบอื่น ๆ

  1. เจ็บแค่ไหนก็ยังวนเวียน

ถ้าใครทำให้เราเจ็บเราก็พร้อมจะถอยห่าง ยิ่งถ้าขยับความสัมพันธ์เข้ามาเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ยิ่งตัดยาก แล้วแบบนี้เราจะผลักครอบครัวออกไปได้ไกลแค่ไหนในวันที่พวกเขาทำให้เราเจ็บ ? ห่างเหินชั่วคราวสุดท้ายก็เหมือนวนกลับมาสู่บาดแผลเดิม เรื่องเดิม ๆ ก็ขุดมาตอกย้ำกันอีก ทำให้เราเหนื่อย เครียด หรือโมโหจนแทบบ้า แล้วเราก็ได้แต่บอกตัวเองให้กลั้นใจลืมมันไป ทั้งที่ใจเราไม่เคยจะชิน

🏡 ‘เซฟโซน’ ไม่ใช่แค่พื้นที่ แต่คือความรู้สึกที่ต้องสร้างไปด้วยกัน

ในหลายครอบครัวการสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” หรือเซฟโซนสำหรับสมาชิกทุกคนในบ้านอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย ไม่ว่าสมาชิกในครอบครัวแต่ละคนจะมีบทบาทไหน ปัญหาเรื่องพฤติกรรม ความไว้วางใจ และความใส่ใจก็เกิดได้กับทุกครอบครัว

Courtney Pullen ให้คำแนะนำในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของครอบครัวว่า “ความเป็นครอบครัวคือการมองเห็นความสำคัญในการรักษารูปแบบและบรรทัดฐานของบ้านไว้ ครอบครัวต้องใช้เวลาและพลังอย่างมากในการลงทุนเพื่อทำความฝันและความต้องการของคนในบ้านให้ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับที่ครอบครัวทำในการสร้างค่านิยมและตั้งเป้าหมายร่วมกัน”

Roy Kozupsky ทนายความด้านธุรกิจครอบครัวที่มีชื่อเสียงในนิวยอร์กบอกว่า “ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จไม่เพียงแต่รักษาความมั่นคงและแบบแผนของพวกเขาได้ แต่ยังมีหลายสิ่งที่เหมือนกัน คือ ความรู้สึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของครอบครัว และความรู้สึกร่วมกันต่อความมั่นคงของครอบครัวและวิธีปฏิบัติตัวต่อคนอื่น ๆ”

ถึงบาดแผลจะไม่หายไป แต่เยียวยาได้ด้วยความรู้สึก

แม้การสร้างเซฟโซนในพื้นที่ที่เคยแตกสลายจะเป็นเรื่องยาก แต่สมาชิกในบ้านสามารถช่วยขจัดสิ่งที่เป็นพิษได้ เริ่มต้นจากวิธีดังต่อไปนี้

  1. รับทราบปัญหาร่วมกัน

อย่าลืมมาว่าเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกปลอดภัยในบ้านของเราเอง การปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใดก็ตามย่อมมีอุปสรรค มีสิ่งที่เราไม่ชอบ มีคนที่ทำให้เราทุกข์ จนกลายเป็นความเครียดที่เกิดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ สิ่งสำคัญคือเราต้องตระหนักถึงสถานการณ์ในบ้าน ความไม่ปกติต่าง ๆ ปัญหาที่เรามองเห็นและไม่เห็น อะไรที่อันตรายต่อความรู้สึก ต้นตอของความเครียด หากไม่ได้มองปัญหาให้ชัดเจน การจะหาทางแก้ไขหรือสร้างเซฟโซนก็คงเป็นเรื่องยากอยู่ดี

  1. จัดการสิ่งที่เป็นพิษ

เริ่มจัดการกับสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่ปลอดภัยหรือที่กระตุ้นอารมณ์ลบ ๆ อย่างจริงจัง เราอาจรู้สึกหงุดหงิด เครียด โกรธ หรือเหนื่อยล้าในเวลาที่ต่อสู้กับอะไรสักอย่าง เป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกกลัว ละอาย หรือกังวลว่าคนอื่นจะมีท่าทีอย่างไรเมื่อเราบอกถึงปัญหาในครอบครัว แต่หัวใจของเราที่แบกความเจ็บปวดจะไม่มีวันหายถ้าเราไม่แก้ไขมัน

  1. คุยกับใครสักคน

เราเป็นแค่มนุษย์ธรรมดาที่เจ็บได้ร้องไห้เป็น ถ้าเราเริ่มรู้สึกว่าบรรยากาศในบ้านทำให้เราเครียด ความสัมพันธ์แย่จนเกินรับไว้ ลองรวบรวมความกล้าบอกใครสักคนที่ไว้ใจเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น เราอาจอยากพูดออกไปว่าเราเกลียดคนที่เราเรียกว่า “ครอบครัว” และอาจมีคนมากมายที่ไม่เข้าใจจุดนี้ แต่การพูดคุยและปล่อยภาระในใจก็ช่วยเราได้มาก เพียงแค่เราต้องเลือกคนที่จะมาเป็นเซฟโซนให้ใจเราดูบ้างสักคนเท่านั้นก็พอ

  1. รับการช่วยเหลือจากมืออาชีพ

ไม่ผิดเลยถ้าบางอย่างในชีวิตนั้นอยู่เหนือการควบคุมของเรา การเอาความสำเร็จหรือล้มเหลวไปผูกกับปมปัญหาในชีวิต มีแต่ทำให้เครียด เครียด แล้วก็เครียด ! รู้ตัวอีกที สุขภาพจิตก็ถดถอยไปมาก นั่นเป็นจุดที่เราต้องจริงจังกับการหันกลับมาเป็นเซฟโซนให้ตัวเอง สิ่งที่อูก้าย้ำอยู่เสมอ คือ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่พร้อมช่วยเรารับมือกับสถานการณ์และจัดการกับอารมณ์ ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางมากมายในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพใจทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

“ใจเราต้องมีเซฟโซนเป็นของตัวเอง”

ไม่ใช่ทุกครอบครัวจะเป็นเซฟโซนได้ และนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของคุณหรือความโชคร้ายของใคร เพราะสุขภาพใจของทุกคนในครอบครัวและตัวเราสำคัญมาก เพราะปัญหาครอบครัวนั้นซับซ้อนและเป็นปัญหาต้น ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดสะสม วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ เราจึงต้องให้นักจิตวิทยาและจิตแพทย์เข้ามาช่วยดูแล

#อูก้ามีทางออก #จิตแพทย์ออนไลน์ #ปรึกษานักจิตวิทยาออนไลน์

อูก้าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ที่มีวุฒิการศึกษารับรองและผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีไว้คอยดูแลใจทุกคนมากกว่า 90 ท่าน สามารถพูดคุยปรึกษาได้ผ่านรูปแบบของวิดีโอคอล รองรับทั้ง iOS และ Android สะดวกทุกที่ทุกเวลา ทั้งเป็นส่วนตัวและไม่ต้องเดินทาง เลือกผู้เชี่ยวชาญและเลือกช่วงเวลาที่ต้องการได้ตามใจคุณ

ไม่ว่าจะเรื่องอะไรอูก้ายินดีแบ่งเบาทุกปัญหาใจและพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คุณเสมอ อย่าลืมนะว่าเราสามารถปกป้องตัวเองได้เท่าที่เราต้องการ เริ่มจากการสร้างเซฟโซนในใจเพื่อตัวเราเองกันเถอะ

________________________________⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/58uT
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์

อ้างอิงจาก

https://au.reachout.com/articles/what-to-do-when-your-home-is-no-longer-a-safe-place

https://www.denverpost.com/2016/03/11/bruce-deboskey-creating-a-safe-zone-with-family-philanthropy/

https://www.psychologytoday.com/us/blog/silencing-your-inner-bully/202002/the-source-toxic-family-relations

https://www.psychologytoday.com/us/blog/conscious-communication/201703/why-family-hurt-is-so-painful

Read More